Search

อัคราเร่งจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน เพิ่มบทบาทชุมชนในการบริหารกองทุนก่อนเปิดดำเนินการอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (“อัครา”) ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ร่วมกับผู้นำชุมชน ผู้แทนชุมชน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ อุตสาหกรรมจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ประมาณ 50 คน จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ และคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ พ.ศ. 2565 โดยปรับโครงสร้างให้ผู้นำและผู้แทนชุมชนในเขตพื้นที่รอบเหมืองทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิษณุโลก มีบทบาทในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เหมืองแร่สามารถอยู่คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งเป็นตัวแทนอัคราในการประชุมครั้งนี้ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาอัคราได้สมทบทุนเข้ากองทุนต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 243 ล้านบาท บนความตั้งใจที่ต้องการให้กองทุนเป็นอีกกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน โดยมีประชาชนเป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาของตนเอง อย่างไรก็ตาม เงินในกองทุนถูกนำไปใช้ในโครงการวิชาการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ชุมชนกลับเข้าถึงเม็ดเงินเหล่านี้ได้ค่อนข้างยาก จึงเป็นที่มาของการร่วมกันบูรณาการโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนในครั้งนี้

“กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้กรุณารับข้อเสนอจากผู้นำชุมชนในพื้นที่ไปพิจารณาประกอบการจัดทำระเบียบ ทำให้จากนี้ไป อำนาจในการบริหารจัดการเงินกองทุนทั้งสองจะอยู่ที่คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของคนในพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้น การพิจารณาข้อเสนอโครงการ การอนุมัติ การเบิกจ่ายเงิน และการติดตามผล จะมีเส้นทางการสื่อสารสั้นลง และจะสามารถสนองความต้องการของคนในพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น” นายเชิดศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคํา ออกโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ บริษัทฯ ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนจำนวน 4 กอง คิดเป็นร้อยละ 22 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทฯ ชำระในแต่ละปี หรือรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาทต่อปี

โดยกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดําเนินกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหมู่บ้านรอบเหมืองแร่ของบริษัทฯ ทั้งในด้านการพัฒนาอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนในเขตรัศมี  3  กิโลเมตร จำนวน 17 หมู่บ้าน โดยบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5 ของค่าภาคหลวงแร่ที่ชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาที่มีการประกอบการ ในส่วนของกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่เหมืองแร่ในเขตรัศมี  5  กิโลเมตร จำนวน 28 หมู่บ้าน โดยบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 3 ของค่าภาคหลวงแร่ที่ชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาที่มีการประกอบการ

โอกาสนี้ นายนิพล ผมน้อย กำนันตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า “หลังจากที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนแล้ว ทางเราจะรีบทำหลักเกณฑ์ข้อกำหนดเงื่อนไข เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และรัดกุมสามารถตรวจสอบได้ และให้เกิดความสะดวกคล่องตัว ทั้งนี้ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนรอบพื้นที่เหมืองในระยะรัศมี 3 กิโลเมตร”

สำหรับหนึ่งในโครงการในชุมชนที่หวังจะได้รับการส่งเสริมจากกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ คือ กลุ่มแม่บ้านทำน้ำพริกเครื่องแกง โดยนายสมชาย แหลมนาค ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่าทางหมู่บ้านได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกเครื่องแกงให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น จึงได้เตรียมแผนการขยายเครือข่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวและชุมชน”

นายเชิดศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “อัคราให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้ประกาศรับสมัครชาวบ้านเข้าทำงานที่เหมือง และในวันนี้ที่ช่วยผลักดันผ่านความเห็นชอบของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ให้ชุมชนมีบทบาทในการบริหารกองทุนมากขึ้น ซึ่งเราหวังอย่างยิ่งว่ากองทุนเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการพัฒนาชุมชนต่อไป”

อัคราจับมือกับ “พีเอ็มอาร์” และ “ออสสิริส” ภายใต้วิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย” เชื่อมสายการผลิตทองคำ ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทองครบวงจร

กรุงเทพฯ (9 กันยายน 2565) —บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เปิดตัวความร่วมมือกับ บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด หรือ “พีเอ็มอาร์” และ บริษัท ออสสิริส จำกัด อย่างเป็นทางการ เชื่อมต่อสายการผลิตทองคำ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ด้วยวิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย” มุ่งสร้างอาชีพกระจายรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต สืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมไทย ผ่านทองคำไทย ยกระดับศักยภาพไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทองคำแห่งใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับเกียรติจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน  

ความร่วมมือระหว่างสามบริษัทมีจุดเริ่มต้นจากการที่บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด (พีเอ็มอาร์) ได้มีโอกาสให้บริการสกัดสินแร่คงค้างในสายการผลิตของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (อัครา) ซึ่งนับว่าเป็นงานแรกที่พีเอ็มอาร์ได้ให้บริการกับบริษัทที่เป็นธุรกิจต้นน้ำ โดยก่อนหน้านั้น โลหะมีค่าที่พีเอ็มอาร์แปรรูปและสกัดส่วนใหญ่จะเป็นเศษโลหะมีค่าจากกระบวนการผลิตเครื่องประดับและโลหะมีค่ารูปพรรณเก่าจากธุรกิจปลายน้ำอย่างบริษัท ออสสิริส จำกัด (ออสสิริส) ซึ่งแต่เดิมก็เป็นลูกค้าของพีเอ็มอาร์

ม.ล.ปรมาภรณ์ เทวกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด หรือ พีเอ็มอาร์  ได้กล่าวเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของความร่วมมือว่า “ครั้งนั้น อัครา ได้ส่งทีมงานมาร่วมทำงานกับเรา ทำให้การสกัดสินแร่คงค้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี สินแร่คงค้างได้รับการสกัดออกมาเป็นทองคำและเงินบริสุทธิ์ 99.99% ตามมาตรฐานสากล การร่วมงานดังกล่าวทำให้เราทราบว่า อัครา กำลังมองหาผู้ให้บริการแปรรูปและสกัดโลหะมีค่า ซึ่งเรามีความมั่นใจและพร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์ด้านการแปรรูปและสกัดทองคำให้กับอัครา จึงสร้างความร่วมมือกับอัคราและออสสิริส เพราะเราเล็งเห็นว่านี่จะเป็นการเชื่อมสายการผลิตทองคำระหว่างบริษัทไทยที่เป็นธุรกิจต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ครบวงจรครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย”

คุณเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายประสานงานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือในลักษณะ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ดังกล่าวนับว่าเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของอัคราเช่นกัน สอดคล้องกับพันธกิจหลักที่ต้องการร่วมพัฒนาศักยภาพการผลิตทองคำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตทองคำอย่างครบวงจร โดยบริษัทฯ มีนโยบายพัฒนามาตรฐานการทำงานอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันก็แสวงหาความร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมทองคำ โดยเฉพาะกับบริษัทแปรรูปและสกัดทองคำ ซึ่งแต่เดิมทางอัคราต้องส่งออกแท่งโดเร่ไปสกัดและแปรรูปเป็นทองคำและเงินบริสุทธิ์99.99% ตามมาตรฐานสากลที่ต่างประเทศ จนกระทั่งช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้มีโอกาสร่วมงานกับพีเอ็มอาร์ ในการสกัดสินแร่คงค้างในสายการผลิตของบริษัทฯ ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือเขย่าอุตสาหกรรมทองคำในครั้งนี้”

ในความร่วมมือดังกล่าว บริษัท ออสสิริส จำกัด ซึ่งมีรากฐานมาจากการเป็นช่างทอง เล็งเห็นโอกาสต่อยอดวิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย” เพิ่มคุณค่าทางจิตใจผ่านฝีมือช่างทองไทย โดยคุณบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารงาน บริษัท ออสสิริส จำกัด กล่าวว่า “เราเป็นลูกค้าของพีเอ็มอาร์อยู่แล้ว เราจึงมองว่าการร่วมมือให้ครบสายการผลิตในครั้งนี้จะช่วยลดการนำเข้าทองคำ เพิ่มคุณค่าทางจิตใจ กระจายสินค้าให้กับคนไทยได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะสามารถพาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าทองคำครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแน่นอน”

ภายใต้ความร่วมมือนี้ อัคราจะเป็นผู้ผลิตและส่งต่อทองคำในรูปแบบแท่งโดเร่ให้พีเอ็มอาร์ทำการแปรรูปและสกัดออกมาเป็นทองและเงินด้วยกระบวนการตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วจึงส่งทองต่อให้ออสสิริสแปรรูปเป็นทองคำรูปพรรณในลำดับต่อไป

ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานการประกาศความร่วมมือพลิกโฉมอุตสาหกรรมทองคำในครั้งนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่าการเชื่อมต่อสายการผลิตทองคำระหว่างบริษัทไทยที่เป็นธุรกิจ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ จะเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยให้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทองคำศักยภาพแห่งใหม่ที่ครบวงจรและได้มาตรฐานสากลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อัครา ผนึก พีเอ็มอาร์ – ออสสิริส ดันไทยเป็นฮับทองคำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สานต่อวิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย”

กรุงเทพฯ (7 กันยายน 2566) — คุณสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมเปิดและเยี่ยมชมบูธความร่วมมือ “ทองไทย เพื่อคนไทย” ระหว่าง บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) (“อัครา”), บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด (“พีเอ็มอาร์”), กับ บริษัท ออสสิริส จำกัด (“ออสสิริส”) ภายในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (Bangkok Gems and Jewelry Fair) ครั้งที่ 68 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บูธความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นเป็นปีที่สอง สานต่อวิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย” เดินหน้าส่งต่อ “คุณค่าไทย” ผ่านทองคำไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย สู่สายตาโลก ผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตทองคำแห่งใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมยกระดับการแข่งขันของสินค้าทองและเงินของไทยให้สินค้าทองและเงินไทยผ่านเกณฑ์ FTA ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศปลายทางจากการพิสูจน์ประเทศต้นทาง (Country of Origin) ว่าใช้ทองที่ถลุง สกัดและแปรรูปในไทย สร้างมูลค่าในประเทศไทยอย่างน้อย 40% ของต้นทุน สร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ทองและเงินไทยในตลาดต่างประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า ทำให้มียอดสั่งซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน

นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ หัวหน้าผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด กล่าวถึงบทบาทการยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนรอบเหมืองของ อัครา ในกรอบความร่วมมือ “ทองไทย เพื่อคนไทย” ว่า อัครา จะเป็นผู้ผลิตและส่งต่อทองคำในรูปแบบแท่งโดเร่ ให้ พีเอ็มอาร์ สกัดออกมาเป็นทองบริสุทธิ์ ด้วยกระบวนการตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วจึงส่งทองต่อให้ ออสสิริส แปรรูปเป็นทองคำแท่งและทองรูปพรรณเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป นับเป็นการผนึกกำลังคุณค่าสากล ผ่านการยกระดับ “สายการผลิตทองคำ” สู่ “ห่วงโซ่คุณค่าทองคำ” ที่สามารถส่งต่อคุณค่า ข้ามพรมแดน ข้ามเวลา หมุนเวียนทั่วไทย ต่อไปทั่วโลก

นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า อัครา เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ปัจจุบันได้ผลิตทองและเงินมาตรฐานสากลโดยเฉลี่ยปีละกว่า 120,000 ออนซ์และ 1,000,000 ออนซ์ โดยไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานมาแล้วถึง 23.6 ล้านชั่วโมงสะสม จนได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘เหมืองทองที่ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก’ ป้อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยไปแล้วกว่า 40,000 ล้านบาท ผ่านการสร้างอัตราจ้างงานให้กับพนักงานคนไทยประมาณ 1,000 คน โดย 90% มาจากชุมชนรอบเหมือง พันธกิจยกระดับคุณภาพชีวิตพัฒนาชุมชนรอบเหมืองยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ อัครา ยังเข้าไปปรับปรุงซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบประปาทั้งหมด 28 หมู่บ้าน ภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากขอบเหมืองอยู่เป็นประจำ พร้อมปลูกต้นไม้ห่มดิน โดยตั้งเป้าปลูกให้ได้กว่า 1,000,000 ต้น ภายในปี พ.ศ. 2570 นอกจากนี้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมา อัครา ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วกว่า 4,600 ล้านบาท โดย 40% ไปที่ส่วนกลาง อีก 50% ไปที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ประทานบัตรตั้งอยู่ และอีก 10% ไปที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ทั่วประเทศ ทั้งยังสมทบเงินเข้ากองทุนต่าง ๆ อีก 21% ของค่าภาคหลวงในแต่ละปี 

ม.ล.ปรมาภรณ์ เทวกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด หรือ พีเอ็มอาร์ กล่าวว่า มาตรฐาน RJC Certification และ GIT Standard สะท้อนให้ความมุ่งมั่นของ พีเอ็มอาร์ ในการเป็นพาร์ทเนอร์ที่บริษัทต่างๆ อยากทำความร่วมมือในด้านการแปรรูปและสกัดโลหะมีค่า มั่นใจจะผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการแปรรูปและสกัดทองคำแห่งใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมยกระดับการแข่งขันของไทยกับสินค้าทองและเงินจากประเทศอื่น ทำให้สินค้าทองและเงินไทยผ่านเกณฑ์ FTA ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศปลายทางจากการพิสูจน์ประเทศต้นทาง (Country of Origin) ว่าใช้ทองที่ถลุง สกัดและแปรรูปในไทย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล สร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ทองและเงินไทยในตลาดต่างประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า ทำให้มียอดสั่งซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ยังทำให้การแจ้งต้นทุนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าผลิตภัณฑ์ทองคำและเงินดังกล่าวสร้างมูลค่าในประเทศไทย 40% ของราคา สร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทองคำอย่างออสสิริส

นายบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารงาน บริษัท ออสสิริส จำกัด กล่าวว่า ออสสิริส เป็นผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่าย-รับซื้อคืนทองคำแท่งและทองรูปพรรณ มีรากฐานมาจากการเป็นช่างทองสกุลเพชรบุรี ในความร่วมมือ “ทองไทย เพื่อคนไทย” ทองคำจะถลุงโดยอัครา สกัดโดยพีเอ็มอาร์ และแปรรูปโดยออสสิริส หลอมแล้วเจียระไนออกมาเป็นองค์รวมแห่งคุณค่าสากลทั้งสาม ให้ผู้สวมใส่ได้รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้สวมใส่ทองไทย ได้ครอบครองทองไทย ในรูปแบบทองคำรูปพรรณและทองคำแท่ง ล่าสุด ออสสิริส ก็ได้เปิดตัว Gold Treasures คอลเล็คชั่นทองคำแท่งเล็ก 99.99% ที่มาพร้อมลวดลายอัตลักษณ์ไทย ซึ่งตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่เพียงแต่ได้สร้างงานกระจายรายได้ หากแต่ยังได้ส่งเสริมงานฝีมือช่างทองไทย ยกระดับสายการผลิตทองคำสู่ห่วงโซ่คุณค่าทองคำ” อย่างแท้จริง

อัครารวมพลังพันธมิตรช่วยซ่อมโรงเรียนในชุมชน หลังพายุพัดถล่มหลังคา

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) นำโดย นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ได้มอบเงินช่วยเหลือจากกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำชาตรี และจากธารน้ำใของพนักงานและคู่ค้าพันธมิตรในชุมชน ให้แก่โรงเรียนวัดสัตตศิลาอาสน์ ในพื้นที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร หลังประสบเหตุวาตภัยถล่มหลังคาโรงเรียนเสียหายเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องอพยพไปเรียนที่ศาลาธรรมสังเวชหน้าเตาเผาศพของวัดแทน

นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ หัวหน้าผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด กล่าวถึงบทบาทการยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนรอบเหมืองของ อัครา ในกรอบความร่วมมือ “ทองไทย เพื่อคนไทย” ว่า อัครา จะเป็นผู้ผลิตและส่งต่อทองคำในรูปแบบแท่งโดเร่ ให้ พีเอ็มอาร์ สกัดออกมาเป็นทองบริสุทธิ์ ด้วยกระบวนการตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม แล้วจึงส่งทองต่อให้ ออสสิริส แปรรูปเป็นทองคำแท่งและทองรูปพรรณเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป นับเป็นการผนึกกำลังคุณค่าสากล ผ่านการยกระดับ “สายการผลิตทองคำ” สู่ “ห่วงโซ่คุณค่าทองคำ” ที่สามารถส่งต่อคุณค่า ข้ามพรมแดน ข้ามเวลา หมุนเวียนทั่วไทย ต่อไปทั่วโลก

นางสุนันท์ พระวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสัตตศิลาอาสน์ เปิดเผยว่า “โรงเรียนของเราได้รับความเสียหายอย่างหนักหลังจากเกิดวาตภัย นักเรียนจำนวน 69 คน จึงต้องย้ายไปเรียนที่ศาลาธรรมสังเวชหน้าเตาเผาศพของวัดชั่วคราว ซึ่งบางวันก็มีงานศพหรือกิจของทางวัด ทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนได้ตามปกติ อีกทั้งยังมีนักเรียนใหม่ 75 คนที่ต้องย้ายไปเรียนที่อื่นเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เราจึงซาบซึ้งใจเป็นอย่างมากที่บริษัท อัคราฯ และชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและได้ให้ความช่วยเหลือแก่เรา”

ความเสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เบื้องต้นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 ประเมินไว้ที่กว่า 2 แสนบาท อย่างไรก็ตาม ล่าสุด บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ ร่วมกับพันธมิตรในชุมชนรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี ได้มอบเงินช่วยเหลือฉุกเฉินกว่า 1 แสนบาท เพื่อเร่งให้การซ่อมแซมหลังคาโรงเรียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว

นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า “บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนโดยรอบพื้นที่มาโดยตลอด พนักงานของเรา 90% เป็นคนในชุมชน เมื่อชุมชนประสบความเดือดร้อน เราจึงพร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยกำลังทรัพย์ กำลังกาย หรือกำลังใจ เพราะที่นี่คือบ้านของเรา และเราทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน”

รู้หรือไม่? การบริหารจัดการบ่อกักเก็บกากแร่ ทำอย่างไร