พาทำความรู้จักคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รอยเท้าคาร์บอนของเรา… ที่ทำร้ายโลก!

ทุกย่างก้าวในชีวิตประจำวันของเรา ไม่เพียงแค่สร้างรอยเท้าลงบนพื้นดินหรือพื้นทรายเท่านั้น แต่ยังทิ้งร่องรอยที่มองไม่เห็นทว่าส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมีนัยสำคัญ นั่นคือ ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ (Carbon Footprint) หรือ ‘รอยเท้าคาร์บอน’ ซึ่งสะท้อนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และกำลังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของเราในระยะยาว

เชื่อว่าหลายคนอาจมีคำถามในใจอยู่ไม่มากก็น้อยว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์คืออะไรกันแน่ ทำไมเราจึงควรสนใจและให้ความสำคัญ มากกว่านั้น เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือภาวะโลกร้อนอย่างไร บทความนี้จะชวนมาทำความรู้จักเรื่องนี้ให้มากขึ้น และที่เหมืองทองอัครามีแนวทางในการจัดการและลดรอยเท้าคาร์บอนนี้อย่างไรบ้าง

“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หมายถึงอะไร ? 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หรือรอยเท้าคาร์บอน คือ การวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปของปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ (Greenhouse Gases – GHG) เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ ไนตรัสออกไซด์ กลุ่มก๊าซฟลูออริเนต เป็นต้น ที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยแหล่งกำเนิดของก๊าซเหล่านี้เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งมักถูกเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดว่าเปรียบเสมือน ‘รอยเท้าที่มองไม่เห็น’ จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรา และทิ้งร่องรอยไว้บนโลกซ้ำ ๆ สะสมจนฝังลึกทำร้ายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว คล้ายกับรอยเท้ามนุษย์ที่ฝังลึกเหยียบย่ำบนพื้นดิน 

ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นนี้ ทำให้มนุษย์เราได้จุดประกายแนวคิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลกระทบของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เราสามารถระบุแหล่งที่มาหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหาวิธีลดการปล่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการวัดเป็นหน่วย “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” (tCO₂e) นั่นเอง

อะไรบ้างที่สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์

อะไรบ้างที่สร้าง “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ?

มาที่ต้นกำเนิดของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เชื่อว่าหลายคนไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราล้วนสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่

  • การใช้พลังงาน เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงในการเดินทาง หรือการใช้แก๊สหุงต้ม
  • การบริโภคอาหาร ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงการขนส่งและการบริโภค อาหารแต่ละประเภทมีคาร์บอนฟุตพริ้นท์แตกต่างกัน นอกจากนี้ เศษอาหารเหลือทิ้งที่เน่าเสีย ยังปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า
  • การซื้อสินค้าและบริการ สินค้าแทบทุกชนิดที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือของใช้ทั่วไป ต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมมาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การบรรจุหีบห่อ จนถึงการขนส่ง และแม้แต่บริการต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การพักโรงแรม หรือการใช้บริการออนไลน์ ก็ล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมผ่านการใช้พลังงานและทรัพยากร
  • การจัดการของเสีย การกำจัดขยะอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การฝังกลบโดยไม่มีระบบควบคุม หรือการเผาขยะในที่โล่ง สามารถปล่อยทั้งก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซพิษอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ได้โดยตรง
  • การใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การตัดไม้ทำลายป่า หรือการเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือเขตเมือง ส่งผลให้ “ตัวกรองธรรมชาติ” ที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง อีกทั้งยังทำให้ก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในดินและพืชถูกปล่อยออกมา 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีกี่ประเภท ? 

สามารถจำแนกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นตามลักษณะของกิจกรรม หรือประเภทของผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่สำหรับในระดับองค์กร การจำแนกประเภทของคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะอิงจาก “ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถวัดผลและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กรแบ่งออกเป็น 3 ขอบเขตหลัก หรือที่เรียกว่า Scope 1, Scope 2 และ Scope 3 ดังนี้:

  • Scope 1: การปล่อยโดยตรง (Direct Emissions) เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งที่องค์กรเป็นเจ้าของหรือควบคุมโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ของยานพาหนะในองค์กร การใช้หม้อต้มไอน้ำหรือเครื่องจักรในโรงงาน การปล่อยก๊าซมีเทนจากบ่อบำบัดน้ำเสียขององค์กร หรือกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซโดยตรง เช่น การผลิตซีเมนต์ เป็นต้น
  • Scope 2: การปล่อยทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions from Purchased Energy) เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้พลังงานที่องค์กรจัดซื้อจากภายนอก แม้ว่าก๊าซเรือนกระจกจะถูกปล่อยที่แหล่งผลิตพลังงาน แต่ผลกระทบจะถูกนับรวมเป็นขององค์กร เนื่องจากเป็นผู้บริโภคพลังงานนั้นโดยตรง เช่น การใช้ไฟฟ้าในสำนักงานหรือโรงงาน การใช้ไอน้ำ ความร้อน หรือความเย็นที่ได้จากระบบสาธารณูปโภค หรือผู้ให้บริการพลังงานภายนอก
  • Scope 3: การปล่อยทางอ้อมจากห่วงโซ่คุณค่า (Other Indirect Emissions) เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรง เป็นการปล่อยที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่คุณค่าทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ โดย Scope นี้ถือเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนมากที่สุด และมักเป็นแหล่งปล่อยก๊าซที่มีปริมาณสูงที่สุด ตัวอย่างเช่น การขนส่งวัตถุดิบและสินค้า การเดินทางของพนักงาน (ที่ไม่ใช่รถบริษัท) การกำจัดของเสียจากผลิตภัณฑ์ การใช้สินค้า หรือบริการโดยลูกค้า 

การทำความเข้าใจ Scope ทั้ง 3 นี้ ช่วยให้องค์กรสามารถระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างครอบคลุม และสามารถวางแผนการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้อย่างตรงจุด

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ สำคัญอย่างไร

“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” สำคัญอย่างไร ทำไมต้องใส่ใจเรื่องนี้ ?

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ไม่ใช่แค่ตัวเลข หรือตัวชี้วัดทางสถิติ แต่คือภาพสะท้อนของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่กิจกรรมต่าง ๆ ของเราปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศในทุก ๆ วัน และนั่นคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างรวดเร็วและรุนแรงที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโลกของเราอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เรากำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนจัด น้ำท่วมหนัก ภัยแล้งยาวนาน หรือพายุที่โหมกระหน่ำบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้คุกคามระบบนิเวศ ทำให้สิ่งมีชีวิตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และยังทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลต่อพื้นที่ชายฝั่งโดยตรงอีกด้วย

ที่สำคัญ ผลกระทบทั้งหมดนี้ยังย้อนกลับมาส่งผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ของเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำความเข้าใจและใส่ใจเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือ ความรับผิดชอบร่วมกัน ของทั้งบุคคล องค์กร และสังคม หากเราร่วมมือกันลงมือเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้ จะช่วยบรรเทาผลกระทบและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับโลกใบนี้ได้ โลกของเรายังมีโอกาสได้ฟื้นฟู และเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน

อัคราใส่ใจสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอนพร้อมรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ในฐานะผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เรามุ่งมั่นมากกว่าแค่การขุดทอง โดยนำเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศมาใช้ในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของเราส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
  • ขุดเจาะอย่างรับผิดชอบ

ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ใน Scope 1 และ Scope 2 ได้ ดังนี้ 

  • ใช้นวัตกรรมลดผลกระทบ เราใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขุดเจาะ พร้อมลดการเกิดฝุ่นและมลภาวะต่าง ๆ
  • บำรุงรักษาเครื่องจักร เราให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในการขุดเจาะให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่เสมอ เพื่อลดการปล่อยมลพิษและการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
  • ฟื้นฟูหลังขุดเจาะ หลังจากการขุดเจาะทำเหมืองเสร็จสิ้น เรามีกระบวนการฟื้นฟูพื้นที่อย่างเป็นระบบ เช่น การปรับหน้าดินและการปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคืนสภาพแวดล้อมให้กลับสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียง
  • ผลิตอย่างคุ้มค่า

เพื่อการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ใน Scope 1 และ Scope 2 อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวทางดังนี้

  • จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เราใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการนำน้ำจากบ่อกักเก็บหางแร่ (TSF) กลับมาใช้ใหม่ ทั้งหมดนี้ดำเนินการภายใต้ระบบ Zero Discharge ที่ช่วยลดการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติได้อย่างมหาศาล
  • เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ เรานำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียพลังงานและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ตอบโจทย์การดำเนินงานที่ทั้ง คุ้มค่า และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ฟื้นฟูคืนธรรมชาติ
    • ฟื้นฟูพื้นที่อย่างเป็นระบบ การฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองไม่ใช่แค่การปลูกต้นไม้ แต่คือการฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์ที่สุด ทั้งในแง่ของพันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยดำเนินการคู่ขนานไปกับการทำเหมือง คำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และความต้องการของชุมชนในพื้นที่
    • ร่วมมือและรับฟังเสียงชุมชน เพื่อคืนชีวิตให้พื้นที่ เพื่อให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เราทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ และเปิดรับความคิดเห็นของชุมชน เพื่อให้การฟื้นฟูเป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
    • เปลี่ยนขุมเหมืองเก่าเป็นแหล่งน้ำแห่งชีวิต พื้นที่เหมืองเก่าที่ได้รับการฟื้นฟู ไม่เพียงแต่กลายเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ยังถูกพัฒนาให้เป็น แหล่งน้ำสำรองเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง และแหล่งเพาะพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มอาหารให้กับชุมชนโดยรอบ โครงการนี้ไม่เพียงช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ แต่ยังเชื่อมโยงระบบนิเวศให้ “ป่าอยู่กับคน” ได้อย่างยั่งยืน

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือร่องรอยที่เราทุกคนฝากไว้บนโลกใบนี้ การทำความเข้าใจและร่วมกันลดรอยเท้านี้จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคน เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ในฐานะองค์กรที่ตระหนักถึงบทบาทสำคัญต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เหมืองทองอัครา มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ด้วยการนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมและการดูแลชุมชน สังคมและโลกใบนี้ สามารถเดินเคียงคู่กันไปได้

เมื่อธรรมชาติส่งสัญญาณ…ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว ถึงเวลาปกป้องโลกก่อนสายไป

อากาศที่ร้อนขึ้นทุกปี ไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจนแทบละลาย ภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นเป็นประวัติการณ์ก็ล้วนแล้วเกิดจาก ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่กำลังส่งผลกระทบกับโลกทั้งใบที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งหากเรายังนิ่งเฉย อีกไม่นานสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยอาจไม่มีเหลือให้รักษา แต่ยังมีโอกาสที่เราจะร่วมกันเปลี่ยนแปลงวิกฤตนี้ได้ นั่นคือการเริ่มต้นจากความเข้าใจปัญหา วันนี้เราจึงจะพาคุณไปเจาะลึกถึงต้นตอของภาวะโลกร้อนว่าเป็นเพราะสาเหตุใดจึงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเราทุกคนจะช่วยกันได้อย่างไร ก่อนที่โลกจะร้อน… จนเกินกว่าจะย้อนกลับ

ภาวะโลกร้อนคืออะไร ? การตื่นตัวจากสัญญาณภัยธรรมชาติ 

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือภาวะที่อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ให้แผ่ออกไปสู่ห้วงอวกาศ ส่งผลให้โลกค่อย ๆ ร้อนขึ้น ซึ่งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม 

ภาวะโลกร้อนจึงไม่ใช่เรื่องของอนาคตอีกต่อไป แต่เป็น ‘ปัจจุบัน’ ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ และนี่คือเหตุผลที่เราจำเป็นต้องตื่นตัว เข้าใจต้นตอของปัญหาและร่วมกันรณรงค์ลดโลกร้อนเพื่อหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืน

เมื่อโลกเดือด และผลกระทบที่ไม่มีใครหลีกพ้นได้

เมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น โลกของเราก็เริ่มส่งสัญญาณเตือนผ่านภัยธรรมชาติที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงยิ่งกว่าเดิม สิ่งที่เคยดูไกลตัว กำลังกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผลกระทบจากโลกร้อนไม่ได้กระทบแค่สภาพอากาศ แต่กำลังรุกล้ำเข้ามาในทุกมิติของชีวิต ทั้งสุขภาพ ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และระบบนิเวศโดยรวม ดังนี้

1. สภาพอากาศผันผวนสุดขั้เมื่อเกิดภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่ตามมาไม่เพียงทำให้โลกร้อนขึ้นเท่านั้น แต่ยังรบกวนสมดุลระบบภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ฤดูหนาวที่แปรปรวน และฝนตกหนักผิดปกติ เกิดเป็นความแปรปรวนที่รุนแรงและคาดเดาได้ยากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างสุดขั้ว 

2. ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น จากสภาพอากาศที่ไม่เสถียร ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงขึ้นจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูง น้ำท่วมฉับพลันจากฝนตกมากผิดปกติในเวลาสั้น ๆ ไฟป่าที่ลุกลามรวดเร็วจากฤดูแล้งที่ยาวนานขึ้น ไปจนถึงธารน้ำแข็งละลายเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อกระแสน้ำในมหาสมุทรและภูมิอากาศโลก

3. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตจำนวนมากกำลังเผชิญภาวะคับขันจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น สัตว์บางชนิดเริ่มสูญพันธุ์ ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching) และจำนวนพื้นที่ป่าไม้ลดลง ซึ่งส่งผลต่อระบบห่วงโซ่อาหารและสมดุลของธรรมชาติในระยะยาว 

ด้วยเหตุนี้ ภาวะโลกร้อนจึงไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลหรืออุณหภูมิเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในทุกมิติ ตั้งแต่ภาคเกษตรกรรมที่ไม่สามารถพยากรณ์ฤดูกาลได้อย่างแม่นยำเหมือนในอดีต ไปจนถึงภาคพลังงานและระบบสาธารณูปโภคที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วบ่อยครั้งมากขึ้น

แนวทางลดโลกร้อน 

รวมพลังเปลี่ยนโลก ทุกภาคส่วนมีบทบาทแก้ปัญหาโลกร้อน 

การรับมือและรณรงค์เพื่อลดโลกร้อนไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือภารกิจร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือหน่วยเล็ก ๆ อย่างภาคประชาชนต่างก็มีบทบาทสำคัญในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปกป้องโลกใบนี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน 

  • ภาครัฐบาล วางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
    ภาครัฐถือเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาประเทศ นโยบายที่ชัดเจนและยั่งยืนจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทั้งสังคมเดินหน้าไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะและน้ำเสียอย่างเป็นระบบ ไปจนถึงการออกกฎหมายควบคุมภาคอุตสาหกรรม

เมื่อภาครัฐเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ภาคประชาชนและภาคธุรกิจก็มีแรงจูงใจในการปรับตัวและร่วมมือกันมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว

  • ภาคธุรกิจ ปรับตัวเพื่ออนาคต ลดผลกระทบระยะยาว
    ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตอย่างมั่นคง ภาคธุรกิจเริ่มให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเชื่อมั่นจากสังคมในระยะยาว หลายองค์กรได้ปรับกระบวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้ย่อยสลายได้ง่าย 

ซึ่งแนวทางเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อโลก แต่ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์และสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภค ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในยุคปัจจุบัน

  • ภาคประชาชน: จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ สร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
    แม้การเปลี่ยนแปลงของคนคนเดียวอาจดูเล็กน้อย แต่เมื่อคนจำนวนมากลุกขึ้นมาลงมือทำพร้อมกัน ก็สามารถกลายเป็นพลังที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงงอันยิ่งใหญ่ให้กับโลกใบนี้ได้ เช่น การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า การเลือกบริโภคอย่างมีสติ หรือการลดของเสียในชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ 

อีกหนึ่งก้าวสำคัญคือการเรียนรู้และคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) จากการใช้ชีวิตของตัวเอง เพื่อให้เข้าใจว่าพฤติกรรมใดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และเริ่มปรับเปลี่ยนตามแนวทางที่เหมาะกับตนเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนเริ่มต้นได้จากความเข้าใจและความตั้งใจจริงของทุก ๆ คน

บทบาทแก้ปัญหาโลกร้อน

ก้าวเล็กๆ สู่การเปลี่ยนแปลง แนวทางลดโลกร้อน 

แม้ภาวะโลกร้อนจะดูเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก แต่การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากก้าวเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน หากทำอย่างต่อเนื่องและร่วมมือกันก็สามารถรวมพลังกลายเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยอาจเริ่มต้นง่าย ๆ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น

  1. ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานที่บ้าน เพราะบ้านคือพื้นที่ที่เราควบคุมได้มากที่สุด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ใช้ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเลือกใช้หลอดไฟ LED ที่ประหยัดพลังงาน ไม่เพียงช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ แต่ยังช่วยลดค่าไฟในระยะยาวอีกด้วย
  2. ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว แม้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจะสะดวกในช่วงเวลาหนึ่ง แต่กลับสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว การลดการใช้จึงเป็นทางเลือกง่าย ๆ ที่ช่วยลดโลกร้อนได้ เริ่มต้นจากการพกถุงผ้า แก้วน้ำ หรือกล่องข้าวส่วนตัว และเลือกซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์น้อยหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 
  3. เดินทางอย่างเป็นมิตรกับโลก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางสามารถช่วยลดภาระให้โลกได้อย่างมีนัยสำคัญ หากเป็นระยะทางใกล้ ลองเปลี่ยนจากการขับรถมาเป็นการเดินหรือปั่นจักรยาน เพราะไม่เพียงช่วยลดมลพิษ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย 
  4. รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ต้นไม้ไม่เพียงดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังเป็นหัวใจของสมดุลทางธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวจึงเปรียบเสมือนปราการสุดท้ายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ในบ้าน ดูแลต้นไม้ในชุมชนหรือร่วมกิจกรรมปลูกป่า ล้วนเป็นการสร้างเกราะป้องกันภาวะโลกร้อนที่ทรงพลัง
  5. ใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น อีกทางเลือกสำคัญในการช่วยโลกคือการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมซึ่งไม่ปล่อยคาร์บอนระหว่างใช้งาน สำหรับครัวเรือน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในบ้านเป็นการลงทุนในระยะยาว ที่ช่วยลดค่าไฟและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พฤติกรรมใดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

อัครา ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของก้าวเล็ก ๆ สู่การเปลี่ยนแปลง ผ่านการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ลดการพึ่งพาใช้พลังงานฟอสซิลและก๊าซเรือนกระจก โครงการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวกับคนเหมือง เพื่อพลิกฟื้นผืนดิน คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่าและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน รวมไปถึงการจัดอบรมและกิจกรรมเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดจากขยะ ซึ่งทางอัครายังคงมุ่งมั่นการดำเนินโครงการต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมตลอดมา 

โครงการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด
อัครา ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของก้าวเล็ก ๆ สู่การเปลี่ยนแปลง ผ่านการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ

แม้ภาวะโลกร้อนจะเป็นปัญหาที่ใหญ่และซับซ้อน แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงสามารถเริ่มต้นได้จากเรื่องเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน ด้วยความเข้าใจที่มากขึ้นและการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง แม้เพียงคนละนิด แต่เมื่อรวมพลังกันจากทุกภาคส่วน ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกของเราฟื้นคืนกลับมาได้และในฐานะองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม อัคราจึงมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ และการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกก้าวของการเติบโตดำเนินควบคู่ไปกับการดูแลธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

เรื่องดีๆ ของคนทำงานอัครา… ชวนดูเข็มทิศการพัฒนาบุคลากรที่ไม่เคยหยุดเติบโตร่วมกัน

ที่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เราเชื่อมั่นเสมอว่า ‘บุคลากร’ หรือ ‘คนทำงาน’ คือหัวใจสำคัญและเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร เราจึงมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานของเราทุกคนได้ค้นพบ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ผ่านแผนการพัฒนาบุคลากรในหลากหลายมิติ วันนี้เราจึงอยากชวนทุกท่านมาดูเข็มทิศการพัฒนาบุคลากรของอัคราที่นำทางเราสู่การเติบโตร่วมกัน และนี่คือเรื่องราวความภาคภูมิใจที่เราอยากแบ่งปัน

เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน หลักการพัฒนาบุคลากรที่อัครายึดมั่น

อัครายึดมั่นในหลักการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อมั่นในศักยภาพของ ‘คน’ ว่าสามารถเรียนรู้ พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ และเมื่อพนักงานของเราเติบโต องค์กรก็เติบโต รวมถึงชุมชนรอบข้างก็จะเติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งนี่คือพันธกิจที่เราให้ความสำคัญ

  • สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เราส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดภายในองค์กร พนักงานทุกคนมีโอกาสในการพัฒนาทักษะและความรู้ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง
  • ดูแลพนักงานดุจครอบครัว เราเชื่อว่าพนักงานที่มีความสุข จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเยี่ยม เราจึงมุ่งมั่นสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัยและเกื้อกูลกัน
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน การพัฒนาบุคลากรของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่พนักงานในองค์กร แต่ยังขยายผลไปสู่ชุมชนรอบเหมือง เรามุ่งมั่นสร้างงาน สร้างอาชีพ ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านการจ้างงาน โดยให้ความสำคัญกับการพิจารณารับพนักงานจากชุมชนรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำชาตรีเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องถิ่น และเดินหน้าพัฒนาทักษะให้คนในชุมชนมีอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

ส่งมอบโอกาสและการพัฒนาบุคลากร หลากหลายโครงการและกิจกรรมที่อัครามอบให้

 เข็มทิศของการพัฒนาบุคลากรที่อัครายึดถือ มุ่งไปยังหลากหลายโครงการและกิจกรรมที่เราตั้งใจมอบให้ เพื่อให้ทุกคนได้เติบโตและเดินไปข้างหน้าพร้อมกัน ครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน การพัฒนาทักษะที่จำเป็น ไปจนถึงการดูแลคุณภาพชีวิตในทุกมิติ

ส่งมอบโอกาสและการพัฒนาบุคลากร หลากหลายโครงการและกิจกรรมที่อัครามอบให้

1. การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

ความปลอดภัยของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน คือสิ่งที่อัคราให้ความสำคัญสูงสุด เราจึงจัดให้มีการฝึกอบรมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและสร้างความมั่นใจว่าทุกคนจะทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล

การอบรมเฉพาะด้านสำหรับพนักงานปฏิบัติงาน

  • จัดอบรมการจัดการสารเคมี โดยฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จัดอบรมความรู้การจัดการสารเคมีให้กับพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับสารเคมี โดยมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของเราจะได้รับความปลอดภัยในทุกพื้นที่การปฏิบัติงาน
  • จัดอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทํางานกับปั้นจั่น ให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง (ผู้ควบคุม ผู้ให้สัญญาณ ผู้ยึดเกาะวัสดุ) เพื่อให้การทำงานในทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างปลอดภัย  
  • จัดอบรม ‘การทำงานด้วยระบบเชือกระดับที่ 1 สำหรับผู้ปฏิบัติงานเบื้องต้น ภายใต้การดูแลของผู้ปฏิบัติการบนระบบเชือกระดับที่ 3’ เพื่อให้พนักงานมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานและวางแผนควบคุมความเสี่ยงในการทำงานด้วยระบบเชือก และสามารถให้การช่วยเหลือในการกู้ภัยในสถานการณ์ที่จำเป็นได้อย่างทันท่วงที 

การเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน

  • จัดอบรมหลักสูตร ‘การดับเพลิงเบื้องต้น’ เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริงกับทีมงานมืออาชีพ เพื่อให้ทุกคนพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
  • จัดการฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟและระงับอัคคีภัยประจําปี เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ และเตรียมความพร้อมให้พนักงานรับมือเหตุฉุกเฉิน
  • จัดการฝึกซ้อมแผนการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีสารเคมีรั่วไหล (ไซยาไนด์) อัคราได้ร่วมมือกับทีมแพทย์จากโรงพยาบาลทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี จัดการฝึกซ้อมแผนการตอบโต้ฉุกเฉินให้กับทีมโต้ตอบและระงับเหตุฉุกเฉิน (ERT) เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และเตรียมความพร้อมทีมงาน (เกี่ยวข้องกับ ISO45001 และ SDG 3) ในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดอบรม ‘แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคพิษตะกั่ว’ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากสารตะกั่ว มาตรการควบคุม และแนวทางการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง

การพัฒนาองค์รวมด้านความรู้ มาตรฐาน และจิตสำนึกด้านความปลอดภัย 

  • จัดอบรมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO ครอบคลุมทั้ง ISO 9001 (คุณภาพ) ISO 45001 (ความปลอดภัย) ISO 14001 (สิ่งแวดล้อม) และมาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคม จึงจัดอบรมให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
  • Walkthrough Survey โดยอัคราได้เชิญแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอาชีวเวชศาสตร์จากโรงพยาบาลต่าง ๆ เข้าร่วมประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการดูแลสุขภาพพนักงานและป้องกันโรคจากการทำงานอย่างเหมาะสม (เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางตาม ISO45001) 
  • จัดกิจกรรมวันความปลอดภัย สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานและพันธมิตรผ่านกิจกรรมและเกมรณรงค์ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  • ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่การทำงานและบริเวณชุมชนรอบเหมือง โดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานและชุมชนว่าเหมืองแร่ทองคำชาตรีของเราปลอดภัยได้มาตรฐาน และไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

2. การพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เพิ่มพูนความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

เพื่อให้พนักงานของเรามีความเชี่ยวชาญและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ อัคราได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่องานในแต่ละตำแหน่ง รวมถึงทักษะใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มพูนขีดความสามารถในการทำงานและพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต

  • การอบรม Power BI: พัฒนาทักษะการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
  • อบรมหลักสูตร ‘เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุมที่เป็นเลิศ’: ยกระดับทักษะการสื่อสารและการทำงานเอกสารอย่างมืออาชีพ
  • จัดอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทํางานกับปั้นจั่น เพื่อเป็นทักษะเฉพาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานกับปั้นจั่น
  • จัดอบรมขับรถบรรทุกเสมือนจริง เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานขับรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือรถยักษ์ (777) ของเราจะขับขี่อย่างปลอดภัย จึงมีการฝึกอบรมด้วยเครื่องจำลองการขับรถบรรทุก (Truck Simulator) ภายใต้การฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนปฏิบัติงานในพื้นที่จริง 
การพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เพิ่มพูนความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน

3. ส่งเสริมการเรียนรู้เฉพาะทาง

นอกเหนือจากทักษะเฉพาะตำแหน่งงานแล้ว การมีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานสากล กฎหมายและหลักจริยธรรมทางธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ อัคราจึงจัดให้มีการอบรมในสาขาเฉพาะทางเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

  • การอบรมมาตรฐาน ISO ต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานเข้าใจหลักเกณฑ์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในชีวิตจริง ทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม 
  • การอบรมกฎหมายและนโยบายสำคัญทางธุรกิจ เช่น การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจด้านกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ
สวัสดิการและกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตพนักงาน

4. สวัสดิการและกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตพนักงาน

เพราะพนักงานคือหัวใจขององค์กร อัคราจึงใส่ใจดูแลคุณภาพชีวิตและความสุขของพนักงานในทุก ๆ ด้าน เราเชื่อว่าพนักงานที่มีสุขภาพกายและใจที่ดี จะสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและเต็มศักยภาพ

  • บริการตรวจวัดสายตา เพื่อดูแลสุขภาพดวงตา และอำนวยความสะดวกให้พนักงานเข้าถึงบริการด้านสายตาได้โดยง่าย
  • การตรวจสุขภาพประจำปีพนักงาน เพื่อให้พนักงานของอัคราทุกคนได้รับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง พร้อมแนวทางดูแลป้องกันโรคในเชิงรุก
  • จัดกิจกรรมฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้พนักงาน มอบสุขภาพดีให้กับหัวใจขององค์กร เพื่อให้ห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่และส่งเสริมการมีสุขภาพดี ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
  • การอบรมเสริมความรู้ด้านการออมและสิทธิประโยชน์แรงงาน ส่งเสริมการวางแผนการเงินและความมั่นคงในชีวิต
  • Akara Sports Days เสริมสร้างความสามัคคี เสริมสุขภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานทุกระดับ
  • การสนับสนุนทีมฟุตบอลอัครา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมกีฬา และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นทั้งในองค์กรและชุมชน
  • กิจกรรมสวดมนต์หลังเลิกงาน เพื่อสร้างความผ่อนคลาย เสริมพลังใจ และเติมความสงบในจิตใจหลังวันทำงาน

ซึ่งกิจกรรมและโครงการพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ ที่อัคราได้จัดทำขึ้นเพื่อพนักงานนี้ ทำให้เราได้รับรางวัล ‘องค์กรผ่านเกณฑ์การประเมินการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบกิจการ ระดับมาตรฐาน’ ซึ่งสะท้อนความสำเร็จในการดูแลสุขภาพพนักงานผ่านโครงการต่าง ๆ

สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ อัคราขับเคลื่อนการจ้างงานเพื่อคนไทยและชุมชนโดยรอบ

สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ อัคราขับเคลื่อนการจ้างงานเพื่อคนไทยและชุมชนโดยรอบ

หนึ่งในพันธกิจสำคัญของอัครา คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ เราตั้งเป้าหมายหลักในการจ้างงานคนในจังหวัดหรือชุมชนโดยรอบเหมืองให้ได้ถึง 90% เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างเสริมสถาบันครอบครัว ให้ทุกคนได้มีโอกาสทำงานใกล้บ้าน อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวอันเป็นที่รัก

อีกทั้งอัคราเปิดโอกาสอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติในการเปิดรับสมัครงานสำหรับบุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัดอายุและเพศ เราเชื่อมั่นในศักยภาพของ ‘คน’ และพร้อมที่จะมอบโอกาสให้ทุกคนได้เติบโตและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จร่วมกัน

ก้าวต่อไป… ไม่หยุดพัฒนา เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่อัคราเรายังคงมุ่งมั่นวางแผนพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อว่าการลงทุนในคน คือการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด พนักงานที่มีความรู้ ความสามารถและมีความสุข จะเป็นพลังและหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ความสำเร็จให้กับองค์กร ชุมชน และสังคมต่อไป

ป่าทุกผืนมีค่า พาเจาะลึก ‘แนวกันไฟ’ หัวใจสำคัญของการป้องกันไฟป่า

เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง หนึ่งในภัยเงียบที่หลายพื้นที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดก็คือ ‘ไฟป่า’ ภัยธรรมชาติที่มักปรากฏเป็นเปลวเพลิงสีส้มลุกลามไปทั่วผืนป่าอย่างรวดเร็ว แม้จะดูห่างไกลจากชีวิตในเมืองใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้วไฟป่าสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศ เศรษฐกิจ ตลอดจนสุขภาพของมนุษย์ได้โดยที่เราอาจคาดไม่ถึง ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันไฟป่าจึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรตระหนักรู้ให้เท่าทัน เพื่อเตรียมรับมือกับภัยนี้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยหนึ่งในแนวทางการป้องกันไฟป่าที่ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คือ การทำ ‘แนวกันไฟ’  ซึ่งเปรียบเสมือนปราการด่านแรกในการสกัดกั้นและชะลอการลุกลามของไฟ ช่วยลดความเสียหายจากไฟป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักแนวทางป้องกันนี้กันแบบเจาะลึก พร้อมทำความเข้าใจว่าไฟป่าเกิดจากอะไร รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลผืนป่าให้ปลอดภัยและยั่งยืนต่อไป

ไฟป่า… เพลิงทะเลสีส้มอันร้อนแรง มีสาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตอย่างไรบ้าง ? 

‘ไฟป่า’ เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งสาเหตุทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ในกรณีของธรรมชาติ ไฟป่าอาจเกิดจากฟ้าผ่าหรือสภาพอากาศที่แห้งแล้งร่วมกับลมแรง ซึ่งเอื้อต่อการเกิดประกายไฟและการลุกลามของเพลิงอย่างรวดเร็ว ขณะที่สาเหตุจากมนุษย์ส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ขาดการควบคุม เช่น การเผาไร่เผาหญ้า การทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่ป่า การก่อกองไฟขณะตั้งแคมป์โดยไม่ดับให้สนิท รวมถึงการกระทำอื่น ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดประกายไฟในสภาพแวดล้อมที่ไวต่อการติดไฟ 

ไฟป่า… เพลิงทะเลสีส้มอันร้อนแรง มีสาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตอย่างไรบ้าง

เมื่อไฟป่าปะทุขึ้น ผลกระทบจากเปลวเพลิงไม่เพียงจำกัดอยู่แค่บริเวณผืนป่าที่ถูกเผาไหม้ แต่ยังอาจสร้างผลเสียตามมาอีกมากมาย เช่น

  • ความเสียหายต่อระบบนิเวศ ไฟป่าคือหนึ่งในสาเหตุหลักของการทำลายถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า ทั้งสัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ รวมถึงแมลง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ต้นไม้และพืชพรรณจำนวนมากที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ
  • มลพิษทางอากาศและสุขภาพ เพราะควันจากไฟป่าประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะ PM2.5 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ และเพิ่มความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับปอดและหัวใจ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ความเสียหายทางเศรษฐกิจ นอกจากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้รวมถึงความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรมแล้ว ไฟป่ายังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการคมนาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเกิดไฟป่า ผลกระทบที่ตามมาคือกลุ่มก้อนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลจากต้นไม้ที่ถูกเผาไหม้ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกหลักที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อน หากเกิดไฟป่าซ้ำซากในพื้นที่เดิมจะยิ่งเพิ่มปริมาณคาร์บอนให้สะสมในชั้นบรรยากาศ และอาจส่งผลต่อสมดุลของสภาพภูมิอากาศในระยะยาว 

แนวกันไฟ ปราการด่านสำคัญในการป้องกันไฟป่า

‘แนวกันไฟ’ คือหนึ่งในวิธีการป้องกันไฟป่าที่มีประสิทธิภาพ สร้างขึ้นเพื่อหยุดยั้งหรือลดความรุนแรงจากการลุกลามของไฟ โดยการตัดวงจรของเชื้อเพลิงตามธรรมชาติไม่ให้ไฟสามารถเคลื่อนตัวผ่านไปยังพื้นที่อื่นได้ จึงเปรียบเสมือนปราการด่านหน้าของป่าไม้ที่คอยทำหน้าที่คุ้มกันภัยจากเปลวเพลิง 

โดยแนวกันไฟทำงานบนหลักการพื้นฐานง่าย ๆ คือ “เมื่อไม่มีเชื้อเพลิง ไฟก็ไม่สามารถลุกลามได้” ซึ่งเชื้อเพลิงในธรรมชาติที่ไฟป่าต้องพึ่งพาอย่างหญ้าแห้ง ใบไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ หรือพืชพรรณที่ติดไฟง่าย หากถูกกำจัดเป็นบริเวณกว้าง พื้นที่ตรงบริเวณนั้นก็จะกลายเป็นแนวกันไฟ เมื่อเปลวไฟมาเจอกับพื้นที่ที่ไม่มีเชื้อเพลิง ไฟจึงหยุดหรือชะลอความเร็วลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านมีโอกาสเข้าควบคุมหรือดับไฟได้ทันก่อนจะลุกลามจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง

แนวกันไฟ ปราการด่านสำคัญในการป้องกันไฟป่า

ด้วยเหตุนี้ แนวกันไฟจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการ ‘ป้องกันก่อนเกิดเหตุ’ และ ‘บรรเทาผลกระทบหลังเกิดเหตุ’ ทำให้แนวกันไฟกลายเป็นมาตรการพื้นฐานที่จำเป็นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า โดยสามารถจำแนกแนวกันไฟในประเทศไทยได้ตามวิธีการจัดการและลักษณะของพื้นที่ ดังนี้

1. แนวกันไฟวิธีกล เป็นแนวกันไฟที่ถูกสร้างโดยแรงงานคนหรือเครื่องจักรในการกำจัดพืชแห้ง วัชพืช เศษไม้ใบไม้ เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นแนวปลอดเชื้อเพลิง เพื่อหยุดการลุกลามของไฟป่า เหมาะสำหรับพื้นที่ที่เข้าถึงง่าย แต่อาจต้องดูแลรักษาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้พืชอาจกลับมาเติบโตและเป็นเชื้อเพลิงใหม่ได้อีกครั้ง

2. แนวกันไฟแบบใช้พืชเขียว หนึ่งในวิธีการป้องกันไฟป่าที่ทำได้โดยการปลูกพืชที่มีความชื้นสูงและเขียวชอุ่มตลอดปี เช่น หญ้าแฝกหรือพืชตระกูลถั่ว เพื่อทำหน้าที่เป็นแนวกันไฟธรรมชาติ เนื่องจากพืชเหล่านี้ติดไฟยากและยังช่วยป้องกันการพังทลายของดิน จึงเหมาะกับพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่ดินเสื่อมโทรม 

3. แนวกันไฟแบบใช้วิธีให้น้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายกับวิธีใช้พืชเขียว เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชขึ้นใหม่ แต่เป็นการให้น้ำแก่พืชที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพื่อให้พืชที่ปกคลุมแนวดังกล่าวคงความเขียวชอุ่มชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้พื้นที่มีโอกาสติดไฟน้อยลง โดยอาศัยการติดตั้งระบบรดน้ำ หรือการจัดระบบชลประทานให้มีน้ำไหลผ่านแนวกันไฟนี้

4. แนวกันไฟแบบใช้สารเคมี เป็นการพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืช หรือทำให้เชื้อเพลิงในพื้นที่ไม่สามารถลุกติดไฟได้ง่าย ทั้งนี้ การใช้สารเคมีเป็นวิธีการป้องกันไฟป่าที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้

5. แนวกันไฟแบบเผาเชื้อเพลิง เป็นวิธีการเผาเชื้อเพลิงล่วงหน้าในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อไฟป่า โดยควบคุมทิศทางและความแรงของไฟอย่างรัดกุม ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการจัดการไฟป่าและต้องมีมาตรการควบคุมเป็นอย่างดีเท่านั้น

6. แนวกันไฟธรรมชาติ คือแนวกันไฟที่เกิดจากลักษณะทางภูมิประเทศหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ติดไฟ เช่น ลำห้วย หน้าผา ทางถนนที่ไร้เชื้อเพลิง หรือทุ่งโล่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวป้องกันไฟป่าได้ทันทีโดยไม่ต้องดัดแปลง

โครงการแนวกันไฟจากอัครา ความมุ่งมั่นเพื่อผืนป่า 

อัคราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในด้านการป้องกันไฟป่า ซึ่งอัคราได้ร่วมสนับสนุนโครงการสร้างแนวกันไฟในพื้นที่ป่าชุมชนรอบเหมือง ในจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างตัวอย่างของการบูรณาการระหว่างภาคเอกชนกับชุมชนในการดูแลทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2568 อัคราได้ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นดำเนินโครงการแนวกันไฟในพื้นที่ป่าชุมชนรวม 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 4,881 ไร่ ซึ่งสามารถปกป้องต้นไม้ได้มากถึง 976,200 ต้น นอกจากนี้ ยังร่วมเก็บเศษใบไม้ได้กว่า 3,500 กิโลกรัม ซึ่งได้นำไปใช้ผลิตเป็นปุ๋ยหมักสำหรับการปลูกต้นไม้ในฤดูฝนต่อไป อัครายังสนับสนุนอุปกรณ์ดับไฟป่าให้แก่ป่าชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ มูลค่ารวมกว่า 188,000 บาท เพื่อเสริมศักยภาพในการเฝ้าระวังและรับมือไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องเล่าจากพื้นที่ พลังแห่งความร่วมมือปกป้องผืนป่า

อัคราดำเนินโครงการสร้างแนวกันไฟในป่าชุมชนโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่อัครา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวบ้านในพื้นที่ที่พร้อมใจกันเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งอาสาสมัครทุกคนต่างมีภารกิจร่วมกัน คือ การสร้างแนวกันไฟสองด้าน และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ บรรดาอาสาสมัครได้เล่าถึงประสบการณ์และความประทับใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ โดยเฉพาะความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และร่วมสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาผืนป่าให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป 

“แนวทางกันไฟนี้จะมีประโยชน์ในพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อป้องกันไฟที่จะเข้ามาในพื้นที่ป่ารอบนอก โดยเราจะมีเฉวียนสำหรับจัดเก็บเศษใบไม้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากลดปริมาณเชื้อเพลิงที่อาจก่อให้เกิดไฟป่าแล้ว ส่วนนี้ยังสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกต้นไม้ในฤดูฝนได้อีกด้วย”

– นพรัตน์ ทองมาก (เจ้าหน้าที่ป่าไม้)

“รู้สึกประทับใจ ที่พอได้ทำไปแล้วก็มองเห็นป่าที่เราเคยปลูกไว้เมื่อปีที่แล้วเจริญงอกงาม แล้วมาวันนี้เราก็นำผลลัพธ์ที่ได้มาทำเป็นแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเผาไหม้ ลุกลามจากไฟป่า”

– วิชาญ คุ้มคูณ (พนักงานฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และการพัฒนา)

“การเข้าร่วมโครงการสร้างแนวกันไฟ ถือเป็นการสนับสนุนการไม่เผา เพราะปัจจุบันนี้ ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญของการรณรงค์ไม่เผาป่า ในฐานะที่เป็นประธานชุมชน ผมก็ดูแลป่าเขานี้มาตลอด จากที่เมื่อก่อนก็มักมีคนมาลักตัดไม้อยู่เป็นประจำ ตอนนี้มีปัญหาไฟป่าเข้ามาอีก หากเราไม่ร่วมมือร่วมใจกันปกป้อง ตอนหน้าคงไม่เหลือผืนป่าให้ลูกหลานได้เห็น”

– ชำนาญ อินตะมะ (ประธานป่าชุมชน)

‘แนวกันไฟ’ จะเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญในการรับมือไฟป่า

แม้ว่า ‘แนวกันไฟ’ จะเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญในการรับมือไฟป่า แต่การป้องกันไฟป่าที่แท้จริงเริ่มต้นจากจิตสำนึกของพวกเราทุกคน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ไฟป่าหลายครั้งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเล็ก ๆ ของมนุษย์ การสร้างความเข้าใจว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่าได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร นักท่องเที่ยว หรือแม้แต่ผู้ที่สัญจรผ่านพื้นที่ป่า ทุกคนล้วนมีบทบาทร่วมกันในการช่วยลดการเผา และหากพบเห็นกลุ่มควันหรือไฟลุกไหม้ในพื้นที่ป่า สามารถแจ้งเหตุได้ทันทีผ่านสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 

ในฐานะองค์กรที่ให้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ อัคราจึงมุ่งมั่นในการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาทรัพยากรป่าไม้ เพราะเราเชื่อว่า “ทุกผืนป่ามีคุณค่า” และการป้องกันไฟป่าไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่คือภารกิจร่วมของทุกคนที่ต้องช่วยกันโอบอุ้มและรักษาทรัพยากรป่าไม้ของไทยไว้ให้คงอยู่สืบไป 

ไขความลับ “แมงกานีส” แร่ธาตุสำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

หากพูดถึงแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม หลายคนอาจนึกถึงทองคำ เหล็ก หรือทองแดงเป็นลำดับแรก ทว่าในความเป็นจริง ยังมีแร่ธาตุอีกมากมายที่แม้ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่กลับมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจและชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ “แมงกานีส” แร่ธาตุที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติในชั้นหินของเปลือกโลก ซึ่งแม้จะไม่โดดเด่นเท่าทองคำหรือแร่โลหะประเภทอื่น ๆ แต่แมงกานีสกลับมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวันของเราอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจในคุณสมบัติและคุณค่าของแร่แมงกานีสอย่างเหมาะสม จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตอย่างยั่งยืน 

รู้จัก “แมงกานีส” แร่โลหะแห่งโลกอุตสาหกรรม

แมงกานีส (Manganese) คือธาตุโลหะที่มีสัญลักษณ์ Mn และเลขอะตอม 25 มีคุณสมบัติเป็นโลหะแข็ง เปราะ มีสีเทาอมเงิน สามารถพบได้ทั่วไปในรูปสารประกอบอนินทรีย์ตามชั้นหินใต้เปลือกโลก เช่น ไพโรลูไซต์ (MnO₂) โรโดโครไซต์ (MnCO₃) หรือไซโลมิเลน (Psilomelane) ในธรรมชาติ  นอกจากนี้ แมงกานีสยังมักปรากฏร่วมกับแร่โลหะอื่น ๆ เช่น เหล็ก เงิน หรือทองคำ เนื่องจากกระบวนการตกผลึกทางธรณีวิทยาอาจทำให้แร่ธาตุเหล่านี้สะสมและจัดเรียงตัวอยู่ในชั้นหินเดียวกัน

แมงกานีสจึงไม่ใช่เพียงหางแร่จากการขุดทองคำ แต่ถือเป็นองค์ประกอบร่วมทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาในสภาวะแวดล้อมทางธรณีวิทยาที่เหมาะสม ซึ่งแม้จะไม่สามารถนำมาใช้ในรูปแบบบริสุทธิ์ได้โดยตรง แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุอื่นได้อย่างดี ทำให้แมงกานีสกลายเป็นแร่ที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมหนักและเทคโนโลยีของโลกยุคใหม่

“แมงกานีส” มีประโยชน์ในอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างไร ?

แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในหลากหลายมิติ รวมถึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ดังนี้

“แมงกานีส” มีประโยชน์อย่างไร
  1. อุตสาหกรรมเหล็กกล้าและโลหะผสม

แมงกานีสคือในหนึ่งแร่ธาตุที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเหล็กกล้าและโลหะผสมอย่างยิ่ง โดยมากกว่า 90% ของแมงกานีสที่ผลิตได้ทั่วโลกถูกนำมาใช้ในการผลิตเหล็ก เนื่องจากแมงกานีสช่วยเสริมคุณสมบัติของเหล็กให้มีความแข็งแรง ทนทานต่อความร้อนและแรงกระแทก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการขจัดสารปนเปื้อน เช่น กำมะถันและออกซิเจนที่อยู่ในเหล็กระหว่างกระบวนการหลอม ซึ่งช่วยให้เหล็กที่ได้มีคุณภาพสูงและเหมาะสมกับการใช้งานในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น อาคารสูง สะพาน และรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น

  1. อุตสาหกรรมแบตเตอรี่และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด

แมงกานีสถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมแมงกานีสออกไซด์ (LMO) ซึ่งนิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ด้วยคุณสมบัติด้านความเสถียรทางไฟฟ้า มีความปลอดภัยสูง และสามารถรีไซเคิลได้ง่าย นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่ใช้แมงกานีสเป็นส่วนหนึ่งในระบบกักเก็บพลังงานสำหรับบ้านเรือนและแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์เซลล์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่พลังงานสะอาดและการลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์อย่างต่อเนื่อง

  1. อุตสาหกรรมเคมีและวัสดุพิเศษ

แมงกานีสไม่เพียงแต่เป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมหนักหรือเทคโนโลยีขั้นสูงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในวงการเคมีอีกด้วย โดยเฉพาะในฐานะตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ที่ช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ ยังเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอุตสากรรมเคมีอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเคมีที่ปลอดภัยและยืดหยุ่น โดยเฉพาะในรูปของแมงกานีสกลูโคเนตซึ่งมีความปลอดภัยสูงและสามารถดูดซึมได้ดีในร่างกายมนุษย์ 

ความน่าสนใจของแมงกานีสไม่ได้มีเพียงในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกายของเราและสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ทั้งพืชและสัตว์ โดยในมนุษย์ แมงกานีสเป็นแร่ธาตุอาหารสำคัญที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด เช่น การเผาผลาญพลังงาน การสร้างกระดูกและการต้านอนุมูลอิสระ ในสัตว์ เช่น ไก่ แมงกานีสช่วยกระตุ้นเอนไซม์ ป้องกันโรคขาโก่ง และความผิดปกติด้านพัฒนาการ รวมถึงในวัวก็มีส่วนช่วยด้านระบบสืบพันธุ์ การเผาผลาญไขมันและเสริมภูมิคุ้มกัน มากกว่านั้นยังเป็นธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ทั้งการสร้างคลอโรฟิลล์และการดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งล้วนช่วยให้พืชเติบโตได้แข็งแรงและทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

ด้วยคุณสมบัติและประโยชน์ที่ให้คุณทั้งในแง่มุมของอุตสาหกรรมและสิ่งมีชีวิต แมงกานีสจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมและการพัฒนาในหลากหลายอุตสาหกรรม กระทั่งกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราโดยไม่รู้ตัว

บทบาทร่วมระหว่าง “แมงกานีส” และ “ทองคำ” ในกระบวนการธรณีวิทยา

ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ และต่อเนื่องตลอดหลายล้านปี ทำให้เกิดการสะสมและก่อตัวของแร่ธาตุต่าง ๆ ภายในเปลือกโลก จึงมีความเป็นไปได้ที่แร่ธาตุหลากหลายชนิดอาจเกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน โดยเฉพาะแมงกานีส ซึ่งเป็นแร่ที่มักแทรกตัวอยู่ร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถพบแร่แมงกานีสและทองคำเกิดร่วมกันในบางพื้นที่ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งแมงกานีสสามารถทำหน้าที่เป็น ธาตุบ่งชี้ (Pathfinder Element) ของแร่ทองคำได้ ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวนี้เอง เราจึงสามารถใช้แมงกานีสเป็นธาตุสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบแหล่งแร่ทองคำแห่งใหม่ได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนและความหลากหลายของกระบวนการทางธรณีวิทยาในการกำเนิดทรัพยากรแร่ของโลก

บทบาทร่วมของแมงกานีสและทองคำสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนและความน่าทึ่งของธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจว่าแร่ธาตุแต่ละชนิดล้วนมีคุณค่าในแบบของตัวเอง การทำความเข้าใจองค์ประกอบและคุณสมบัติของแร่เหล่านี้อย่างลึกซึ้งจึงเป็นรากฐานสำคัญของการจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในฐานะองค์กรที่ดำเนินงานท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติ เหมืองอัคราให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการแร่ธาตุอย่างรอบด้าน เพื่อร่วมผลักดันให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่เติบโตควบคู่กับความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

เบื้องหลังความล้ำค่า กว่าจะเป็นทองคำต้องผ่านวิธีการสกัดทองคำอย่างไรบ้าง ?

ทองคำที่เราเห็นสีเหลืองทองอร่าม อีกทั้งยังถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้มาจากธรรมชาติเป็นก้อนบริสุทธิ์ แต่ต้องผ่านกระบวนการ ‘สกัดทอง’ ที่ซับซ้อน ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้และความสามารถเฉพาะทาง ถ้าอยากรู้ว่ากว่าจะเป็นทองคำที่สวยงามล้ำค่านั้นมีที่มาอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการสกัดทองคำกันว่ามีกี่วิธี และพาไปดูขั้นตอนการสกัดทองคำของเหมืองทองอัคราที่ผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล

จุดเริ่มต้นการสกัดทองคำ เปลี่ยนหินให้เป็นทองล้ำค่า ต้องผ่านวิธีการอย่างไรบ้าง ? 

กว่าจะได้ทองคำมาสักหนึ่งบาท หรือสักสลึงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทองคำในธรรมชาติมักปะปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ ในปริมาณน้อยนิด อีกทั้งต้องอาศัยกระบวนการ “สกัด” ที่ต้องใช้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญเพื่อแยกทองคำออกมา ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ 

1. การสกัดทองคำออกจากสินแร่ 

ขั้นตอนนี้เป็นหัวใจสำคัญของการสกัดทองคำ เพราะเป็นการแยกแร่ทองคำออกจากสินแร่ ในอดีตเคยมีการใช้ปรอทในการสกัดทองคำ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้วิธีนี้แล้วเพราะปรอทเป็นโลหะหนัก ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่สามารถสะสมในห่วงโซ่อาหารและก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ โดยปัจจุบันวิธีสกัดทองคำที่นิยมและเป็นมาตรฐานสากลคือ Cyanidation หรือการสกัดทองด้วยสารละลายไซยาไนด์ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมืองอัคราเลือกใช้เช่นกัน

หลายคนอาจเกิดความกังวลเมื่อได้ยินคำว่า ‘ไซยาไนด์‘ แต่ที่จริงแล้วไซยาไนด์ที่ใช้ในการสกัดทองคำเป็นสารละลายเจือจางและใช้ในระบบปิด มีการควบคุมปริมาณและการใช้งานอย่างเข้มงวด ที่สำคัญไซยาไนด์สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติเมื่อสัมผัสกับแสงแดดและอากาศกลายเป็นสารที่ไม่เป็นพิษ รวมถึงที่อัคราเราให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นหัวใจหลัก ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตเป็นระบบปิด และได้นำถัง ISOTainer ซึ่งเป็นระบบผสมไซยาไนด์อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้และลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีของพนักงาน นอกจากนี้เรายังมีบ่อกักเก็บหางแร่และการจัดการน้ำ (Water Recycling) ที่นำน้ำในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด 100% จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารเคมีรั่วไหลออกสู่ภายนอก

2. การทำให้ทองคำบริสุทธิ์ 

หลังจากได้สารละลายทองคำแล้ว ก็จะมีขั้นตอนที่ต้องทำต่อเพื่อให้ได้ทองคำบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น 

  1. Chlorination เป็นการใช้ก๊าซคลอรีนเป่าเข้าไปในทองคำหลอมเหลวเพื่อแยกโลหะอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการออกไป ซึ่งจะทำให้ได้ทองคำที่มีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.5%
  2. Electrolysis เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ควบคุมเพื่อกระตุ้นให้ทำปฎิกิริยาในการแยกทองคำออกจากโลหะอื่น ๆ ซึ่งจะได้ทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99.99%
  3. Aqua Regia วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่างทำทองคำทั่วไปเลือกใช้ โดยมีการใช้กรดไนตริกเเละกรดไฮโดรคลอริกกัดสารละลายทองคำ แล้วใช้สารเคมี เช่น วิธีใช้สาร SMB ทำให้ตกตะกอนทองคำออกมาอีกที แล้วนำไปหลอมด้วยความร้อนให้กลายเป็นทองคำ ซึ่งจะให้ค่าความบริสุทธิ์ประมาณ 99.9x%

ตะลุยเข้าเหมือง เปิดขั้นตอนวิธีการสกัดทอง… 

ที่กว่าจะเป็นทองคำไทย เพื่อคนไทยจากอัครา 

ที่เหมืองอัคราเราได้นำความรู้และเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการสกัดทองคำของเรามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

ตะลุยเข้าเหมือง เปิดขั้นตอนวิธีการสกัดทองที่กว่าจะเป็นทองคำไทย เพื่อคนไทยจากอัครา

1. การเตรียมสินแร่

  • หลังสำรวจ วางแผนขุดเจาะและได้สินแร่แล้ว จากนั้นจะเอาสินแร่มาบดหยาบผ่านเครื่องบดหยาบเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการก่อน 
  • เมื่อสินแร่มีขนาดเล็กลงแล้ว จะถูกนำไปบดละเอียดพร้อมกับน้ำให้มีลักษณะคล้ายน้ำโคลน กลายเป็นสินแร่เปียก 

2. การสกัดทองคำ

  • เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดทองคำ สินแร่เปียกจะถูกนำไปผสมกับสารละลายโซเดียมไซยาไนด์เพื่อชะละลายทองคำออกจากสินแร่ ซึ่งในขั้นตอนนี้เราได้ใช้เทคโนโลยี ISOTainer ซึ่งควบคุมการขนย้าย ผสมและวัดปริมาณไซยาไนด์แบบอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์อย่างแม่นยำ เพื่อลดปริมาณไซยาไนด์ตกค้างให้น้อยที่สุด จากนั้นจะใช้ถ่านกัมมันต์ที่มีโครงสร้างรูพรุนสูงเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถดูดซับทองและเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • หลังจากนั้นจะนำถ่านกัมมันต์ที่มีทองและเงินไปชะละลาย เพื่อแยกเอาทองและเงินออกจากเม็ดถ่านกัมมันต์ให้อยู่ในรูปแบบของสารละลาย หรือที่เรียกว่าน้ำทอง  

3. ทำให้ทองคำบริสุทธิ์

ขั้นตอนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์โดยใช้วิธีตกตะกอน ที่อัคราเราเลือกวิธีการแยกด้วยไฟฟ้า
  • เมื่อได้น้ำทองแล้วก็จะถึงขั้นตอนการทำให้ทองคำบริสุทธิ์โดยใช้วิธีตกตะกอน ที่อัคราเราเลือกวิธีการแยกด้วยไฟฟ้า (Electrowinning) โดยใช้เซลล์ไฟฟ้าดึงโลหะทองคำและเงินออกจากน้ำทอง 
  • แล้วล้างโลหะออกจากขั้วไฟฟ้า ซึ่งจะได้เป็นผงทองคำและเงิน จากนั้นนำผงโลหะทองคำและเงินไปอบให้แห้ง (Gold Cake) 
กระบวนการโลหกรรมขั้นสุดท้ายจากเหมืองทองอัครา

4. หลอมให้เป็นแท่งโดเร่

  • นำผงทองคำผสมเงินที่แห้งแล้วมาหลอมในเตาเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้โลหะทองคำผสมเงิน (Doré Bar) 
ขั้นตอนการสกัดทองคำที่หลอมให้เป็นแท่งโดเร่

ซึ่งในขั้นตอนการสกัดทองคำที่หลอมให้เป็นแท่งโดเร่ จะเป็นกระบวนการโลหกรรมขั้นสุดท้ายจากเหมืองทองอัครา ก่อนจะถูกส่งต่อให้กับบริษัท รีฟายนิ่งโลหะมีค่า จำกัด หรือ ‘พีเอ็มอาร์ (PMR)’ เพื่อทำการแปรรูปและสกัดทองแท่งโดเร่ของอัคราให้ได้ทองคำที่มีค่าความบริสุทธิ์ 99.99% ตามมาตรฐานสากล และส่งไม้ต่อให้บริษัท ออสสิริส จำกัด ซึ่งมีรากฐานจากการเป็นช่างทองไทยมาก่อน นำไปขึ้นรูปให้เป็นทองคำแท่งและทองคำรูปพรรณคุณภาพต่อไป 

เรียกได้ว่าการสกัดทองคำของอัคราเรานั้น เป็นการเชื่อมสายการผลิตทองคำของไทยตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ผลักดันให้สินค้าที่ผลิตด้วยทองคำและเงินของไทยผ่านเกณฑ์ FTA เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากประเทศคู่ค้าและสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดต่างประเทศ ลดการนำเข้าและลดการขาดดุลการค้า รวมถึงการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และการค้าทองคำครบวงจรที่ได้มาตรฐานสากลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยวิสัยทัศน์ “ทองไทย เพื่อคนไทย สู่สายตาโลก” 

จากก้อนหินสู่สินแร่ จากสินแร่สู่ทองคำบริสุทธิ์ คือเรื่องราวของการสกัดทองคำที่ต้องผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางร่วมกับเทคโนโลยีและความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เหมืองทองอัคราเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาและนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนให้กับทั้งธุรกิจ ชุมชน และโลกใบนี้ พร้อมกับเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรมเหมืองทองยุคใหม่มาตรฐานโลกที่มุ่งมั่นสู่การทำเหมืองทองอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทุกคน 

เปิดตำรา ‘ทรัพยากรธรรมชาติ’ ขุมทรัพย์ ชีวิต และความยั่งยืนมีอะไรบ้าง

ในทุก ๆ วัน เราต่างพึ่งพา ‘ทรัพยากรธรรมชาติ’ รอบตัว ตั้งแต่อากาศที่เราหายใจ น้ำที่ดื่ม อาหารที่เรากิน เสื้อผ้าที่สวมใส่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มาจากแร่ธาตุและโลหะ ไปจนถึงพลังงานที่ขับเคลื่อนชีวิตและเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้มาจากทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้น ซึ่งเปรียบเสมือนขุมทรัพย์และมรดกที่ธรรมชาติมอบไว้ให้ แล้วคุณเคยสงสัยกันไหม… ว่าจริง ๆ แล้วทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มาจากไหน ? มีอะไรบ้างและมีมากน้อยแค่ไหน ? เมื่อการใช้ชีวิต = ใช้ทรัพยากร อนาคตเราเราจะมีใช้ไปอีกนานแค่ไหน ? ไปเปิดโลกของทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้กัน

ทรัพยากรธรรมชาติ คืออะไร สำคัญกับเราแค่ไหน ? 

ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources) คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่พวกเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตในทุกมิติ ไม่ว่าจะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก เป็นปัจจัยพื้นฐานที่รองรับการดำรงอยู่ของประชากรโลก รวมถึงการเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย เรียกได้ว่าทรัพยากรธรรมชาติสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้

ทรัพยากรธรรมชาติ มีอะไรบ้าง ?

ทรัพยากรธรรมชาติสามารถแบ่งได้หลากหลายแบบ แต่โดยส่วนใหญ่จะแบ่งตาม 2 แนวทางหลัก ดังนี้ 

1. ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามขีดจำกัดในการใช้งาน 

ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามขีดจำกัดในการใช้งาน 
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Renewable Resources) ทรัพยากรเหล่านี้มีอยู่ตลอด หรือสามารถหมุนเวียนทดแทนได้ตามธรรมชาติในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น แสงอาทิตย์ ลมและอากาศ แต่อาจเสื่อมสภาพจนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนแต่ก่อน หากไม่ดูแลรักษา ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง หรือสร้างมลพิษที่ส่งผลต่อทรัพยากรเหล่านี้ 
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถบำรุงรักษาให้คงสภาพอยู่ได้ (Maintainable Resources) ทรัพยากรเหล่านี้สามารถ “ฟื้นฟู” ตัวเองได้ แต่ต้องใช้เวลาและอาจต้องมีการจัดการที่เหมาะสม เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้และสัตว์ป่า หากใช้มากเกินไปหรือไม่ระวังอาจเสื่อมโทรมหรือหมดไปได้เช่นกัน
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Non-renewable Resources) ทรัพยากรเหล่านี้มีอยู่อย่างจำกัด ใช้แล้วหมดไปและไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ หรือถ้าทำได้ก็กินเวลายาวนานหลายล้านปี เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เราจึงต้องใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด รวมถึงพัฒนาหาทรัพยากรทางเลือกอื่นมาทดแทน 

2. ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามลักษณะ

ทรัพยากรธรรมชาติมีกี่ลักษณะ
  • ทรัพยากรดิน ดินเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกษตร เพราะเป็นแหล่งธาตุอาหาร น้ำและที่ยึดเกาะของรากพืช นอกจากนี้ ดินยังมีความสำคัญต่อการก่อสร้าง เป็นที่ตั้งของอาคารบ้านเรือนและองค์ประกอบของระบบนิเวศโดยรวม
  • ทรัพยากรน้ำ ปฏิเสธไม่ได้ว่าน้ำคือปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตบนโลก ถ้าขาดน้ำการดำรงชีวิตทั้งของมนุษย์ สัตว์และพืชย่อมเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เพราะทุกกิจกรรมต้องใช้น้ำทั้งสิ้น ตั้งแต่การอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้าไปจนถึงการคมนาคม
  • ทรัพยากรป่าไม้และทิวทัศน์ ป่าไม้และทิวทัศน์มีบทบาทหลากหลายและสำคัญยิ่งต่อโลก นอกจากเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหารและยารักษาโรคแล้ว ความงดงามตามธรรมชาติยังเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่องเที่ยวอีกด้วย นี่จึงเป็นทรัพยากรที่ทุกคนต้องช่วยกันรักษา
  • ทรัพยากรสัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพคือหัวใจของระบบนิเวศที่สมบูรณ์ สัตว์ป่าคือองค์ประกอบหลักในการรักษาสมดุล มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ช่วยควบคุมประชากร มากกว่านั้นยังเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงเท่ากับการรักษาสมดุลของโลก
  • ทรัพยากรแร่ธาตุและโลหะ อุตสาหกรรม การก่อสร้าง และเทคโนโลยียุคปัจจุบัน ล้วนต้องพึ่งพาแร่ธาตุและโลหะเป็นวัตถุดิบสำคัญ ตั้งแต่เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทรัพยากรกลุ่มนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อความมั่งคั่งและความมั่นคงของประเทศ
  • ทรัพยากรพลังงาน พลังงานคือปัจจัยขับเคลื่อนแทบทุกกิจกรรมของมนุษย์ ตั้งแต่การดำรงชีวิต การคมนาคมไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราใช้ทรัพยากรพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แสงอาทิตย์ ลม หรือพลังงานหมุนเวียน และพัฒนาต่อยอดเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
  • ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเพราะมีความสามารถในการคิดค้น สร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ ได้  

สร้างจุดสมดุลให้ทรัพยากรธรรมชาติระหว่าง ‘การใช้’ กับ ‘การรักษา’

คุณเคยสงสัยไหมว่าในเมื่อทุก ๆ วัน เรา ‘ใช้ชีวิต = ใช้ทรัพยากร’ จุดสมดุลระหว่าง ‘การใช้’ กับ ‘การรักษา’ นั้นจะต้องทำอย่างไรในเมื่อทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างก็พร้อมที่จะหมดสิ้นได้เสมอ คำตอบคือการร่วมมือกัน ‘อนุรักษ์’ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ‘พัฒนา’ อย่างยั่งยืน ด้วยแนวทางต่อไปนี้

  • ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ลดการใช้ นำมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล
  • ลดการปล่อยมลพิษ ลดการใช้พลาสติก ลดการเผาไหม้ ใช้พลังงานสะอาด
  • ฟื้นฟูทรัพยากรที่เสื่อมโทรม ปลูกป่า บำบัดน้ำเสีย ปรับปรุงดินให้เหมาะสม 
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานหมุนเวียน เกษตรยั่งยืน
  • สร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ร่วมกัน
อัคราร่วมใจร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

อัคราร่วมใจ ขอเป็นส่วนหนึ่งร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เหมืองแร่นับเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลกและมีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ควบคู่กัน เราจึงตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างรู้คุณค่า และให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อาจได้รับผลกระทบ ด้วยการปรับปรุงทรัพยากรบางอย่างเพื่อให้ตอบโจทย์การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการสีเขียวเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างเช่น โครงการฟื้นฟูป่าและปลูกต้นไม้กับคนเหมืองเพื่อเพิ่มทรัพยากรป่าไม้ การบำบัดน้ำใช้แล้วโดยนำน้ำจากกระบวนการผลิตหมุนเวียนกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า เพื่อช่วยลดปัญหาขาดแคลนทรัพยากรน้ำภายในท้องถิ่น การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงและประหยัดการใช้ไฟฟ้า โครงการคลินิกเกษตรที่ช่วยแก้ปัญหาดินในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นกรด ให้สามารถปลูกพืชและข้าวได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 

ทรัพยากรธรรมชาติ คือ ‘มรดก’ ที่เราได้รับมาจากธรรมชาติและต้องส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ร่วมกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศและการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์โลกตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับองค์กร ล้วนเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่

เพราะอนาคตของโลกและของเราทุกคนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการลงมือทำในวันนี้ เพื่อให้โลกใบนี้ยังคงเป็นบ้านที่อุดมสมบูรณ์ น่าอยู่ และยั่งยืนสำหรับทุกคน

รู้จัก “สารหนู” คืออะไร ? เจาะลึกคุณสมบัติและบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิต

เมื่อพูดถึง “สารหนู” หลายคนอาจนึกถึงภาพของสารพิษอันตรายที่ควรหลีกเลี่ยง แต่รู้หรือไม่ สารหนูเป็นหนึ่งในธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยสามารถพบได้ทั่วไปทั้งในชั้นหิน แหล่งน้ำใต้ดิน และมักปรากฏร่วมกับแร่โลหะต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหล็ก และทองแดง ซึ่งแม้ว่าสารหนูจะมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย แต่ในอีกด้านหนึ่ง สารหนูกลับมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ตั้งแต่อุตสาหกรรมเคมี ไปจนถึงการผลิตวัสดุเฉพาะทางที่ช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในโลกยุคใหม่
วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปรู้จักสารหนูในทุกแง่มุม ตั้งแต่คุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ของสารหนู ตลอดจนแนวทางการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ไขความลับ สารหนู (Arsenic) คืออะไร มาจากไหน ?

สารหนู (Arsenic) คือธาตุกึ่งโลหะที่มีสัญลักษณ์ As และเลขอะตอม 33 พบกระจายอยู่ในเปลือกโลกตามธรรมชาติ ทั้งในหิน ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาสูง เช่น พื้นที่ภูเขาไฟ หรือแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ในแง่คุณสมบัติทางเคมี สารหนูมีความสามารถในการจับตัวกับธาตุต่าง ๆ ได้ดี โดยมักพบในรูปของสารประกอบ เช่น อาร์เซโนไพไรต์ (Arsenopyrite) ซึ่งเป็นแร่ซัลไฟด์ที่เกิดร่วมกับแร่โลหะอย่างทองคำ ทองแดง และตะกั่ว จึงทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถนำสารหนูมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างคุณค่าในหลากหลายด้าน

สารหนู และประโยชน์ในอุตสาหกรรม

เจาะลึกบทบาทสำคัญของสารหนู และประโยชน์ในอุตสาหกรรม 

ในโลกของอุตสาหกรรม สารหนูมีคุณค่าและความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ดังนี้

1. อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์

สารหนูเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในรูปของสารประกอบ GaAs หรือ อาร์เซไนด์แกลเลียม (Gallium Arsenide) ซึ่งถูกใช้เป็นวัสดุกึ่งตัวนำในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเซมิคอนดักเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ชิปความเร็วสูง ไฟ LED โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดาวเทียม เป็นต้น

2. อุตสาหกรรมเคมีและการเกษตร

สารหนูยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์เพื่อกำจัดแมลงในภาคเกษตรกรรมมากมาย อาทิเช่น ยาฆ่าแมลง สารกันปลวก และสารเคลือบไม้ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อราและกำจัดแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมพัฒนาขึ้น การใช้สารหนูในลักษณะเหล่านี้จึงถูกจำกัดและควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์และธรรมชาติ 

3. อุตสาหกรรมยาและการแพทย์

ประโยชน์ของสารหนูไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เคมีและการเกษตรเท่านั้น แต่สารหนูยังมีบทบาทในวงการแพทย์อย่างน่าทึ่ง โดยการนำ As₂O₃ หรือ สารหนูไตรออกไซด์ (Arsenic Trioxide) มาใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด โดย As₂O₃ เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ การนำมาใช้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและการดูแลของแพทย์อย่างรัดกุมเท่านั้น

สารหนูกับแร่ทองคำ ความสัมพันธ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

เหมืองทองคำในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยในบางแหล่ง อาจพบแร่อาร์เซโนไพไรต์ ซึ่งเป็นแร่ธรรมชาติที่มีสารหนูเป็นองค์ประกอบหลัก ร่วมอยู่ในหินและสินแร่อื่น ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาตั้งแต่ยุคเก่าก่อน กระบวนการทำเหมืองทองคำจึงไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดสารหนูโดยตรง แต่สารหนูสามารถสะสมอยู่ในแร่ที่มีความสัมพันธ์กับทองคำ สิ่งสำคัญคือการจัดการและการควบคุมสารหนูในระหว่างการทำเหมืองและการผลิตทองคำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำเหมืองในยุคใหม่จึงไม่ได้เป็นเพียงการขุดแร่เพื่อนำทรัพยากรมาใช้ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อธรรมชาติและสังคมอย่างรอบด้าน ซึ่งอัคราให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการแหล่งแร่อย่างรัดกุม แม้ว่าสายแร่ของเหมืองทองคำชาตรี จะเป็นแหล่งแร่ทองคำที่ไม่สัมพันธ์กับอาร์เซโนไพไรต์ หรือแร่โลหะเป็นพิษอื่น ๆ ก็ตาม โดยดำเนินงานด้วยแนวทางที่รับผิดชอบ พร้อมสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมกับการรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เพื่อให้ทรัพยากรที่มีค่าถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
แม้สารหนูมักจะถูกจดจำในฐานะธาตุที่มีความเสี่ยงและต้องใช้อย่างระมัดระวัง แต่หากพิจารณาอย่างรอบด้านจะพบว่าสารหนูเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว และมีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างมาก การนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้การควบคุมที่เคร่งครัดและความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่เพียงส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม แต่ยังเป็นการวางรากฐานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และชุมชนให้เติบโตควบคู่กันอย่างยั่งยืนในระยะยาว

เบื้องหลังการสกัดทองคำกับนวัตกรรมระดับโลก สู่เส้นทางทองคำบริสุทธิ์

ทองคำ’ แร่ล้ำค่าที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมานานนับพันปี ปัจจุบันถือเป็นสินทรัพย์ล้ำค่าที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ทั่วทุกมุมโลก แต่ทว่ากว่าจะได้มาซึ่งสินทรัพย์อันล้ำค่านี้ต้องผ่านกระบวนการสกัดอันซับซ้อน และต้องอาศัยทั้งเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม วันนี้เราจะพาไปเจาะลึก ‘เบื้องหลังการสกัดทองคำกับนวัตกรรมเหมืองแร่มาตรฐานสากล’ ณ เหมืองแร่ทองคำชาตรี ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หรือที่คุ้นหูกันในนามเหมืองทองอัครา ที่ใช้นวัตกรรมทันสมัย เพื่อให้ได้มาซึ่งทองคำบริสุทธิ์อย่างยั่งยืน

จากสินแร่สู่ทองคำบริสุทธิ์ เส้นทางที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูง

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ “ไซยาไนด์” ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการสกัดทองคำ และอาจมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เหมืองแร่ทองคำชาตรี เราเข้าใจและตระหนักถึงความกังวลเหล่านี้ จึงให้ความสำคัญกับการควบคุมและจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ภายใต้การดูแลของนักธรณีวิทยา วิศกรเหมืองแร่และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

เปิดโลกนวัตกรรมและเทคโนโลยี หัวใจแห่งการขับเคลื่อนเหมืองแร่ทองคำชาตรี

เบื้องหลังการสกัดทองคำ สู่เส้นทางทองคำบริสุทธิ์

ที่เหมืองทองอัครา หัวใจสำคัญของการทำเหมืองแร่ทองคำอย่างยั่งยืน คือ “นวัตกรรมและเทคโนโลยี” เรามุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการทำเหมืองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จึงได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิตของเรามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหมืองแร่ที่เรานำมาใช้มีดังนี้

1. โดรน LiDAR เทคโนโลยี 3 มิติ เปลี่ยนโฉมการสำรวจเหมือง

ISOtainer เป็นระบบผสมไซยาไนด์อัตโนมัติ

ก่อนเริ่มขุดเจาะ เราต้องรู้จักพื้นที่ให้ดีที่สุด อัคราจึงใช้เทคโนโลยี LiDAR (Light Detection and Ranging) ที่ติดตั้งบนโดรนซึ่งเปรียบเสมือน ‘ตาวิเศษ’ ที่จะปล่อยคลื่นอินฟราเรดลงสู่พื้นดินเพื่อวัดระยะเวลาที่แสงสะท้อนกลับมา ในการคำนวณหาระยะทาง นำมาสร้างเป็นภาพ 3 มิติของพื้นที่ที่มีความละเอียดสูง 

ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำแม้ในพื้นที่ป่ารกทึบ แสงน้อย หรือมีภูมิประเทศซับซ้อน ช่วยให้นักธรณีวิทยาวางแผนการทำเหมืองได้อย่างละเอียด ระบุตำแหน่งและประเมินปริมาณแหล่งแร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เหมือง (เช่น การทรุดตัว / พังทลายของดิน) ลดการขุดเจาะที่ไม่จำเป็น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวางแผนฟื้นฟูพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. บ่อกักเก็บหางแร่ (TSF) ระบบปิด ป้องกันการรั่วไหล (Zero Leakage)

บ่อกักเก็บหางแร่ (TSF) ระบบปิด ป้องกันการรั่วไหล (Zero Leakage)

อัคราให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของบ่อกักเก็บกากแร่ (TSF) โดยออกแบบให้เป็นระบบปิด ป้องกันการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม (Zero Leakage) โดยบ่อกักเก็บหางแร่ของเราได้รับการออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตรวจสอบโดย Knight Piésold บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมชั้นนำระดับโลก

การก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต่การปรับหน้าดิน กำจัดรากไม้และลอกหน้าดินออกจนถึงหน้าดินแข็ง จากนั้นบดอัดดินเหนียวและดินลูกรังที่มีความสามารถในการซึมผ่านต่ำให้ทั่วพื้นที่บ่อ แล้วจึงปูพื้นและผนังของบ่อด้วยแผ่น HDPE Geomembrane แผ่นพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความหนาแน่นสูง เหนียว ทนทานต่อสารเคมีและป้องกันการรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยม และวางระบบระบายน้ำและถมดินทับ พร้อมทำคันดินจากดินเหนียวที่เสริมด้วยหิน ซึ่งทุกขั้นตอนออกแบบและควบคุมโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวด

3. น้ำทุกหยด… หมุนเวียนไม่สิ้นสุด

การบำบัดน้ำ

น้ำในบ่อกักเก็บหางแร่ของอัคราไม่ได้ถูกปล่อยทิ้งไว้ แต่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ 100% ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง

โดยหางแร่จากกระบวนการผลิตจะยังมีไซยาไนด์หลงเหลืออยู่และจะถูกส่งไปบำบัดในถังชะล้างไซยาไนด์ ซึ่งจะลดความเข้มข้นของไซยาไนด์ลงให้มีปริมาณน้อยกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ตามข้อกำหนด โดยเทียบเท่าใกล้เคียงกับปริมาณไซยาไนด์ในหน่อไม้ กาแฟ หรือเกลือ ก่อนจะถูกลำเลียงผ่านท่อไปยังบ่อกักเก็บหางแร่ ไซยาไนด์ที่หลงเหลืออยู่ในบ่อกักเก็บหางแร่จะแตกตัวและระเหยไปเมื่อสัมผัสกับแสงแดดและออกซิเจน สุดท้ายน้ำที่ผ่านการบำบัดจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต 

ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำดิบได้มากถึง 307,679 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน เรียกได้ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ได้อีกด้วย 

4. นวัตกรรมระเบิดแบบหน่วงเวลา ลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมระเบิดแบบหน่วงเวลา

อัคราใช้เทคนิคการระเบิดแบบหน่วงเวลา มาใช้ในการทำเหมือง เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือน เสียง และฝุ่นละอองที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำเหมือง ให้อยู่ในระดับปลอดภัยตามมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ อัครายังได้ติดตั้งเครื่องวัดระดับเสียงรอบโครงการ 9 จุด โดยระดับเสียงเฉลี่ยอยู่ที่ 50 เดซิเบล ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด และติดตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนไว้ในหมู่บ้านใกล้เคียง 7 แห่ง โดยผลการประเมินแรงสั่นสะเทือนอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์กำหนด รวมถึงมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ 

5. ISOtainer ระบบจัดการไซยาไนด์อัตโนมัติเพื่อความปลอดภัย

ISOtainer ระบบจัดการไซยาไนด์อัตโนมัติเพื่อความปลอดภัย

ในการสกัดทองคำ ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญ แต่ก็เป็นสารที่ต้องได้รับการจัดการอย่างระมัดระวังสูงสุด อัคราจึงนำระบบ ISOtainer มาใช้เพื่อควบคุมการผสมและใช้งานไซยาไนด์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนี้ทำงานในรูปแบบ Closed-loop system หรือระบบปิด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลและป้องกันการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของพนักงาน

ISOtainer เป็นระบบผสมไซยาไนด์อัตโนมัติควบคุมอัตราส่วนการผสมไซยาไนด์กับน้ำตามที่กำหนดไว้อย่างแม่นยำ ทำให้ได้สารละลายไซยาไนด์ที่มีความเข้มข้นสม่ำเสมอพร้อมใช้งาน จากนั้นสารละลายนี้จะถูกส่งไปยังกระบวนการสกัดทองคำโดยตรง อีกทั้งการใช้ ISOtainer ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขนย้าย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของพนักงาน ลดโอกาสในการรั่วไหล หรือสัมผัสโดยไม่จำเป็น 

มากกว่าเทคโนโลยีคือความรับผิดชอบ นวัตกรรมเหมืองทองที่อัคราจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่เทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่คือความรับผิดชอบที่ฝังอยู่ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเหมืองแร่ที่ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน 

และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของเบื้องหลังเส้นทางสู่ทองคำบริสุทธิ์ของเหมืองทองอัครา ที่พร้อมพิสูจน์ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการดูแลสิ่งแวดล้อม สามารถเดินเคียงคู่กันไปได้ด้วยนวัตกรรมเหมืองทองที่ทันสมัย ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมและความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

คาร์บอนเครดิต โครงการพลิกวิกฤต “โลกร้อน” สู่โลกที่สดใสอย่างยั่งยืน

เราทุกคนรู้กันดีว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันทุกภาคส่วนต่างกำลังแสวงหาแนวทางจัดการปัญหานี้อย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือโครงการ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากภาคองค์กรและบุคคลทั่วไปทั่วโลก สำหรับใครที่สงสัยว่าคาร์บอนเครดิตคืออะไร มีโครงการอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากกลไกนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับเรื่องราวของคาร์บอนเครดิตกัน 

คาร์บอนเครดิตคืออะไร สำคัญอย่างไร ?

ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การหายไปของผืนป่าจากการตัดไม้ หรือควันจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีว่าเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ดังนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ในภาคส่วนต่าง ๆ หลายองค์กรจึงนำกลไกที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” มาปรับใช้ ซึ่งเปรียบเสมือนตลาดที่เปิดโอกาสให้องค์กร หรือโครงการต่าง ๆ สามารถ ‘ซื้อ’ สิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ หรือ ‘ขาย’ เครดิตที่ได้จากการลดหรือกักเก็บคาร์บอนของตนเองได้ โดยแนวคิดนี้มักดำเนินควบคู่ไปกับการประเมินผลกระทบ เช่น โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) และของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) รวมถึงโครงการที่สร้างเครดิตได้โดยตรงอย่าง โครงการป่าชุมชนเพื่อคาร์บอนเครดิต 

คาร์บอนเครดิตคืออะไร สำคัญอย่างไร

ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ข้อตกลงนานาชาติ เช่น พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี 1997 ที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปิดโอกาสให้ใช้กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต รวมถึงข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี 2015 ที่มุ่งเน้นให้ทุกประเทสมีส่วนร่วมในการลดคาร์บอน โดยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือในการชดเชยการปล่อยก๊าซ

เรียกได้ว่าคาร์บอนเครดิตมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการสร้างมูลค่าให้กับการลดมลพิษ และช่วยให้ประเทศ หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนที่ตั้งไว้ได้อีกด้วย

โครงการคาร์บอนเครดิต ใคร “ได้” ใคร “เสีย” บ้าง ? 

สำหรับโครงการคาร์บอนเครดิตนี้ แม้จะเป็นโครงการที่ดีต่อโลกของเรา แต่ก็มีทั้งกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อยู่ ดังนี้

ใคร “ได้” (ประโยชน์ที่ได้รับ)องค์กร หรือโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซฯ เช่น กลุ่มพลังงานทดแทน หรือโครงการปลูกป่า เป็นต้น จะได้รับรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ประเทศกำลังพัฒนา สามารถสร้างรายได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซฯ ภายใต้กลไกข้อตกลงระหว่างประเทศองค์กรที่ต้องการชดเชยคาร์บอน สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซฯ ของตนเอง เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ใคร “เสีย” (ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น)องค์กรที่ปล่อยก๊าซฯ สูง อาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นหากต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยส่วนที่เกินกำหนด หรือต้องลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้นธุรกิจขนาดเล็ก อาจไม่สามารถลงทุนในโครงการคาร์บอนเครดิตได้ ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทใหญ่

ทำอย่างไรถึงจะได้ “คาร์บอนเครดิต” ?

การที่จะได้รับคาร์บอนเครดิตนั้น จะต้องดำเนินโครงการที่สามารถสร้างเครดิตในการลดหรือกักเก็บคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกได้อย่างชัดเจนและตรวจสอบได้ ซึ่งเรามีตัวอย่างโครงการมาให้ โดยบุคคลทั่วไปหรือแม้กระทั่งองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้

โครงการคาร์บอนเครดิต
  • กลุ่มพลังงานทดแทน
    • องค์กร: ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
    • คนทั่วไป: ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง
  • การอนุรักษ์พลังงาน
    • องค์กร: เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานในสำนักงานและโรงงาน ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานน้อยลง
    • คนทั่วไป: เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ปั่นจักรยาน หรือใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัวในบางโอกาส
  • การจัดการของเสีย
    • องค์กร: นำก๊าซชีวภาพจากขยะมาผลิตไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซมีเทน นำขยะไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะที่จะถูกนำไปฝังกลบและทำให้เกิดก๊าซมีเทน
    • คนทั่วไป: คัดแยกขยะรีไซเคิล ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบและลดการปล่อยก๊าซมีเทน
  • การปลูกป่าและฟื้นฟูระบบนิเวศ
    • องค์กร: สนับสนุนหรือดำเนินโครงการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนแหล่งเพาะพันธุ์ต้นกล้าต่าง ๆ 
    • คนทั่วไป: สร้างพื้นที่สีเขียวในบ้าน หรือชุมชน 

เหมืองทองอัครา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่ความยั่งยืน 

ถึงแม้จะยังไม่มีโครงการคาร์บอนเครดิตโดยตรง เหมืองทองอัครา ยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เรามีโครงการและแนวทางปฏิบัติมากมายที่ช่วยลด หรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่ช่วยลดผลกระทบและดูแลโลก ได้แก่

  • โครงการปลูกไม้ 1 ล้านต้นกับคนเหมือง: ที่เราตั้งเป้าปลูกต้นไม้ 1,000,000 ต้น เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
  • พลังงานสะอาด: ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ในการดำเนินงาน
  • Solar Rooftop: ที่อาคารสำนักงานอัคราเพื่อชุมชนและสำนักงานสำรวจ เราได้มีติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไว้ใช้ภายใน ที่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในระยะยาว ลดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า และลดสภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกในทางอ้อมได้
  • การจัดการของเสีย: มีระบบจัดการขยะและชีวมวลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเกิดการก๊าซมีเทน
  • วางแผนการทำเหมือง: ออกแบบและจัดการการทำเหมืองที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ

จากความมุ่งมั่นที่ต่อยอดด้วยการลงมือทำ นำไปสู่การได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว รางวัลสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน (CSR-DPIM) ประจำปี 2567 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นเครื่องยืนยันถึงที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของเราทุกคน และแนวคิดโครงการคาร์บอนเครดิตก็เรียกว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หรือประชาชนทั่วไป ต่างก็มีบทบาทในการสร้างและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตได้ มาร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนด้วยการทำความเข้าใจและสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตกัน