เราทุกคนรู้กันดีว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันทุกภาคส่วนต่างกำลังแสวงหาแนวทางจัดการปัญหานี้อย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือโครงการ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากภาคองค์กรและบุคคลทั่วไปทั่วโลก สำหรับใครที่สงสัยว่าคาร์บอนเครดิตคืออะไร มีโครงการอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากกลไกนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับเรื่องราวของคาร์บอนเครดิตกัน
คาร์บอนเครดิตคืออะไร สำคัญอย่างไร ?
ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การหายไปของผืนป่าจากการตัดไม้ หรือควันจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีว่าเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น ดังนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ในภาคส่วนต่าง ๆ หลายองค์กรจึงนำกลไกที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” มาปรับใช้ ซึ่งเปรียบเสมือนตลาดที่เปิดโอกาสให้องค์กร หรือโครงการต่าง ๆ สามารถ ‘ซื้อ’ สิทธิ์ในการปล่อยก๊าซ หรือ ‘ขาย’ เครดิตที่ได้จากการลดหรือกักเก็บคาร์บอนของตนเองได้ โดยแนวคิดนี้มักดำเนินควบคู่ไปกับการประเมินผลกระทบ เช่น โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) และของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) รวมถึงโครงการที่สร้างเครดิตได้โดยตรงอย่าง โครงการป่าชุมชนเพื่อคาร์บอนเครดิต

ซึ่งแนวคิดนี้เกิดขึ้นจากความพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ข้อตกลงนานาชาติ เช่น พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี 1997 ที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปิดโอกาสให้ใช้กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต รวมถึงข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในปี 2015 ที่มุ่งเน้นให้ทุกประเทสมีส่วนร่วมในการลดคาร์บอน โดยสามารถใช้คาร์บอนเครดิตเป็นเครื่องมือในการชดเชยการปล่อยก๊าซ
เรียกได้ว่าคาร์บอนเครดิตมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการสร้างมูลค่าให้กับการลดมลพิษ และช่วยให้ประเทศ หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนที่ตั้งไว้ได้อีกด้วย
โครงการคาร์บอนเครดิต ใคร “ได้” ใคร “เสีย” บ้าง ?
สำหรับโครงการคาร์บอนเครดิตนี้ แม้จะเป็นโครงการที่ดีต่อโลกของเรา แต่ก็มีทั้งกลุ่มคนที่ได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์อยู่ ดังนี้
ใคร “ได้” (ประโยชน์ที่ได้รับ) | องค์กร หรือโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซฯ เช่น กลุ่มพลังงานทดแทน หรือโครงการปลูกป่า เป็นต้น จะได้รับรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ประเทศกำลังพัฒนา สามารถสร้างรายได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซฯ ภายใต้กลไกข้อตกลงระหว่างประเทศองค์กรที่ต้องการชดเชยคาร์บอน สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซฯ ของตนเอง เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน |
ใคร “เสีย” (ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น) | องค์กรที่ปล่อยก๊าซฯ สูง อาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นหากต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยส่วนที่เกินกำหนด หรือต้องลงทุนในเทคโนโลยีสะอาดอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้นธุรกิจขนาดเล็ก อาจไม่สามารถลงทุนในโครงการคาร์บอนเครดิตได้ ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับบริษัทใหญ่ |
ทำอย่างไรถึงจะได้ “คาร์บอนเครดิต” ?
การที่จะได้รับคาร์บอนเครดิตนั้น จะต้องดำเนินโครงการที่สามารถสร้างเครดิตในการลดหรือกักเก็บคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกได้อย่างชัดเจนและตรวจสอบได้ ซึ่งเรามีตัวอย่างโครงการมาให้ โดยบุคคลทั่วไปหรือแม้กระทั่งองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้

- กลุ่มพลังงานทดแทน
- องค์กร: ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
- คนทั่วไป: ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง
- การอนุรักษ์พลังงาน
- องค์กร: เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานในสำนักงานและโรงงาน ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้พลังงานน้อยลง
- คนทั่วไป: เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟ LED เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ปั่นจักรยาน หรือใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัวในบางโอกาส
- การจัดการของเสีย
- องค์กร: นำก๊าซชีวภาพจากขยะมาผลิตไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซมีเทน นำขยะไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะที่จะถูกนำไปฝังกลบและทำให้เกิดก๊าซมีเทน
- คนทั่วไป: คัดแยกขยะรีไซเคิล ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบและลดการปล่อยก๊าซมีเทน
- การปลูกป่าและฟื้นฟูระบบนิเวศ
- องค์กร: สนับสนุนหรือดำเนินโครงการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนแหล่งเพาะพันธุ์ต้นกล้าต่าง ๆ
- คนทั่วไป: สร้างพื้นที่สีเขียวในบ้าน หรือชุมชน
เหมืองทองอัครา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่ความยั่งยืน
ถึงแม้จะยังไม่มีโครงการคาร์บอนเครดิตโดยตรง เหมืองทองอัครา ยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เรามีโครงการและแนวทางปฏิบัติมากมายที่ช่วยลด หรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่ช่วยลดผลกระทบและดูแลโลก ได้แก่
- โครงการปลูกไม้ 1 ล้านต้นกับคนเหมือง: ที่เราตั้งเป้าปลูกต้นไม้ 1,000,000 ต้น เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก
- พลังงานสะอาด: ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ในการดำเนินงาน
- Solar Rooftop: ที่อาคารสำนักงานอัคราเพื่อชุมชนและสำนักงานสำรวจ เราได้มีติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไว้ใช้ภายใน ที่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในระยะยาว ลดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า และลดสภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกในทางอ้อมได้
- การจัดการของเสีย: มีระบบจัดการขยะและชีวมวลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการเกิดการก๊าซมีเทน
- วางแผนการทำเหมือง: ออกแบบและจัดการการทำเหมืองที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ
จากความมุ่งมั่นที่ต่อยอดด้วยการลงมือทำ นำไปสู่การได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว รางวัลสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน (CSR-DPIM) ประจำปี 2567 จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นเครื่องยืนยันถึงที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของเราทุกคน และแนวคิดโครงการคาร์บอนเครดิตก็เรียกว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หรือประชาชนทั่วไป ต่างก็มีบทบาทในการสร้างและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตได้ มาร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนด้วยการทำความเข้าใจและสนับสนุนกลไกคาร์บอนเครดิตกัน