Search

การดำเนินการของเรา

หน้าหลัก > การดำเนินการของเรา > การทำเหมืองแร่

การทำเหมืองแร่

มาตรฐานการทำเหมืองแร่ทองคำระดับสากล

เหมืองแร่ทองคำชาตรีใช้วิธีการทำเหมืองแบบเหมืองเปิด (Open-Pit Mining) โดยขุดเป็นบ่อเหมืองลึกลงไปจากผิวดินในบริเวณที่มีสายแร่ทองคำปรากฏอยู่ โดยนักธรณีวิทยาจะเริ่มจากการเจาะเก็บตัวอย่างสินแร่เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความสมบูรณ์ของสินแร่ทองคำ เพื่อจำแนกคุณภาพสินแร่ออกเป็นสินแร่ทองคำเกรดสูง สินแร่ทองคำเกรดต่ำ และมูลหิน 

ขั้นตอนการทำเหมืองแร่จะเริ่มที่กระบวนการสำรวจรังวัดพื้นที่ โดยบริษัทได้นำเทคโนโลยีโดรนไลดาร์  (LiDAR)

ซึ่งใช้คลื่นรังสีอินฟราเรดมาใช้ในการรังวัดพื้นที่ โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะมีความละเอียดสูงกว่าการรังวัดโดยใช้โดรนรังวัดแบบถ่ายภาพทั่วไป

ภายหลังจากได้รับข้อมูลภูมิประเทศสำหรับพื้นที่ที่จะทำเหมืองจากการรังวัดโดยละเอียดแล้ว แผนกวางแผนและออกแบบการทำเหมืองของบริษัทจะนำข้อมูลภูมิประเทศดังกล่าว ผนวกรวมกับข้อมูลด้านความสมบูรณ์ของสินแร่ มาใช้ในการวางแผนการผลิตแร่และออกแบบบ่อเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ปริมาณและความสมบูรณ์ของสินแร่ที่จะป้อนเข้าโรงประกอบโลหกรรม ประเภทและปริมาณของเครื่องจักรที่จะใช้ในการทำเหมือง ความคุ้มทุน ความปลอดภัย ข้อกำหนดและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมือง รวมถึงมาตรการการป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดจากการทำเหมือง เป็นต้น

เมื่อได้แผนการทำเหมืองและแบบของบ่อเหมืองแล้ว แผนกควบคุมการทำเหมืองจะใช้แผนและแบบดังกล่าวในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ให้สามารถผลิตสินแร่สำหรับป้อนเข้าโรงประกอบโลหกรรม และบริหารจัดการมูลดินทิ้งให้เป็นไปตามแผนการทำเหมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยอัคราเป็นบริษัทแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ที่ได้นำเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการติดตามเครื่องจักรของ Caterpillar

(บริษัทชั้นนำระดับโลกในอุตสาหกรรมการเหมืองแร่) แบบ Real-Time มาใช้ในการควบคุมการทำเหมือง 

เทคโนโลยีการติดตามเครื่องจักรแบบ Real-Time ที่มีชื่อว่า MineStar Edge นี้ นอกจากจะช่วยเรื่องการควบคุมการผลิตแร่ และการจัดการมูลดินแล้ว ยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ในกรณีที่สินแร่แทรกตัวอยู่ในหินที่ไม่สามารถขุดตักได้ มวลหินเหล่านี้จะถูกระเบิดให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อให้สามารถขนใส่รถบรรทุกได้ โดยในขั้นตอนการระเบิดนั้น นอกจากจะมีการควบคุมการระเบิดโดยการใช้หน่วงเวลาระเบิดและการควบคุมปริมาณวัตถุระเบิดแล้ว บริษัทยังมีการวัดและบันทึกข้อมูลผลจากการระเบิด ทั้งในด้านแรงสั่นสะเทือนและความดังของเสียงเมื่อมีการระเบิดทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าการระเบิดเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการขนย้ายสินแร่ด้วยรถบรรทุกไปยังลานกองสินแร่ เพื่อรอป้อนเข้าสู่โรงประกอบโลหกรรมต่อไป สำหรับมูลหินนั้นจะถูกขนย้ายและนำไปแยกกองเก็บไว้ในพื้นที่ที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัททำการฟื้นฟูพื้นที่ที่การทำเหมืองสิ้นสุดแล้วทันทีที่สามารถทำได้โดยปลูกต้นไม้และพืชหลากหลายสายพันธุ์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติ

บ่อกักเก็บกากแร่เป็นระบบปิด (Zero Discharge) โดยอัคราไม่มีการปล่อยน้ำ
หรือกากแร่ออกนอกบ่อกักเก็บกากแร่แต่อย่างใด

ด้านการบริหารจัดการกากแร่นั้น บ่อกักเก็บกากแร่ของบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมแห่งรัฐเนวาดา (Nevada Department of Environmental Protection: NDEP) ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยได้ว่าจ้างบริษัท Knight Piésold Consulting จากประเทศออสเตรเลีย ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการออกแบบและควบคุมงานการบริหารจัดการกากแร่ในระดับโลก ปัจจุบันบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 2 เป็นแหล่งกักเก็บกากแร่ที่ผ่านกระบวนการดึงแร่ทองคำและเงิน และกระบวนการกำจัดไซยาไนด์ที่สามารถลดความเข้มข้นของไซยาไนด์ในกากแร่ให้เหลือน้อยกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับไซยาไนด์ที่อยู่ในกาแฟและเกลือ ก่อนที่จะปล่อยลงสู่บ่อกักเก็บกากแร่

ซึ่งเป็นและมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพน้ำและอากาศ ทั้งในบริเวณพื้นที่โครงการและชุมชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิต

สิ่งของ

  • กากแร่
  • ถั่วลันเตา
  • กาแฟ
  • เกลือ
  • อัลมอนต์
  • มันสำปะหลังดิบ
  • ควันบุหรี่

ปริมาณไซยาไนด์

  • น้อยกว่า 20 ppm
  • 1 - 31 ppm
  • สูงถึง 6 ppm
  • สูงถึง 13 ppm
  • 26 - 100 ppm
  • 200 - 1,000 ppm
  • สูงถึง 1,600 ppm

PPM คืออะไร?

PPM (part per million) คือ หนึ่งส่วนในล้านส่วน (1 ใน 1,000,000) เป็นหน่วยความเข้มข้นที่นิยมใช้สำหรับการวัดค่าความเข้มข้นของสารในปริมาณที่น้อยมาก ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักพบเจอในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในงานอุตสาหกรรม เช่น การวัดค่ามลพิษทางอากาศ หมายถึงส่วนของปริมาณก๊าซพิษในปริมาณของอากาศล้านส่วน

RELATED ARTICLES

สาระน่ารู้

ฟื้นฟูพื้นที่สำรวจแหล่งแร่

นักสำรวจรุ่นเก๋าของอัครา👷🏼‍♂️จะพาเราไปดูการปรับพื้นที่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหลังจากที่ทำภารกิจการสำรวจเสร็จสิ้น

Read More »
ข่าวสาร

อัคราจับมืออุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตรเร่งบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือ

อัคราส่งมอบข้าวสาร อาหารแห้ง และยาสามัญประจำบ้านให้อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร เพื่อจัดทำถุงยังชีพส่งมอบให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือต่อไป

Read More »
ข่าวสาร

อัคราเผยจ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วกว่า 500 ล้านบาท มั่นใจไทยมีศักยภาพเป็น “ฮับทองคำ” ของอาเซียนพร้อมผลักดันสินค้าทองคำและเงินของไทยให้ผ่านเกณฑ์ FTA เพื่อสร้างแต้มต่อให้ผู้ประกอบการไทย

อัคราจ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วกว่า 500 ล้านบาท หลังบริษัทฯ กลับมาเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม 2566 และคาดว่าจะป้อนเม็ดเงินสู่เศรษฐกิจไทยกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี

Read More »