Search

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หน้าหลัก > การพัฒนาอย่างยั่งยืน > การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ฝุ่น

53 ug/m3

เสียงรบกวน

51 dBA

การสั่นสะเทือน

0/15

เมษ-มิย 2024

 

จำนวนครั้ง ระดับการสั่นสะเทือน

เกินมาตรฐาน / จำนวนครั้งที่ระเบิด

การควบคุมปริมาณฝุ่น

คุณภาพอากาศที่เหมืองแร่ทองคำชาตรีแปรผันตามฤดูกาล โดยฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก โดยมีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Respirable Dust) และฝุ่นละอองแขวนลอยรวม (Total Suspended Particulate: TSP) โดยมีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน จะมีปริมาณสูงขึ้นในฤดูแล้งและลดลงในฤดูฝน

บริษัทตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในบรรยากาศ ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน แบบปริมาตรสูง (High-Volume Air Samplers using Mass Flow Control: MFC) ที่สามารถตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) หรือ TSP จากการเก็บตัวอย่างอากาศโดยรอบได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานสากลและตรงตามมาตรฐานของสํานักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency: EPA)

ที่ปรึกษาอิสระจะทำการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปริมาณฝุ่นที่วัดได้จากสถานีวัดคุณภาพอากาศทั้ง 9 จุด เป็นประจำทุกไตรมาส โดยปริมาณฝุ่นที่วัดได้ทั้งหมดยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทมั่นใจในประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมปริมาณฝุ่นในพื้นที่โครงการ โดยบริษัทบำรุงรักษาถนนอย่างรอบด้าน จัดให้มีการคลุมพื้นผิวถนนด้วยกรวด รดน้ำทำความสะอาดพื้นผิวถนน และการติดตั้งสเปรย์พ่นน้ำที่เครื่องบดหิน

นอกจากนี้ บริษัททำการฟื้นฟูพื้นที่โดยปลูกพืชคลุมพื้นที่ที่มีการทำเหมืองทันทีที่สามารถทำได้ เพื่อลดปริมาณฝุ่นให้ได้มากที่สุดในช่วงฤดูแล้ง และเป็นการเสริมเกราะป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินในฤดูฝน

มาตรการควบคุมเสียงและแรงสั่นสะเทือน

บริษัทติดตั้งสถานีวัดระดับเสียงไว้โดยรอบพื้นที่โครงการจำนวน 9 จุด และติดตั้งสถานีวัดแรงสั่นสะเทือนไว้ในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่โครงการที่สุดอีก 7 แห่ง และจัดให้มีที่ปรึกษาอิสระเป็นผู้ประเมินค่าที่วัดได้จากสถานีต่าง ๆ และจัดรายงานผลให้แก่บริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุก 6 เดือน โดยผลการประเมินระดับเสียงอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม และผลการประเมินแรงสั่นสะเทือนอยู่ในเกณฑ์ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์กำหนดสำหรับกิจการที่มีการบดหิน

ผลลัพธ์จะถูกประเมินโดยที่ปรึกษาอิสระและรายงานให้อัคราและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน ระดับเสียงทั้งหมดยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับมอบหมายโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และการวัดการสั่นสะเทือนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่แนะนำโดยมาตรฐานการควบคุมของกรมวิทยาศาสตร์สำหรับโรงงานบดหิน

คุณภาพน้ำ

เหมืองแร่ทองคำชาตรีทำเหมืองระบบปิด น้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่โครงการทั้งหมดจะถูกกักเก็บไว้และไม่มีการระบายน้ำออกสู่ภายนอก ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงมีการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งปริมาณการใช้น้ำ คุณภาพน้ำ และการกักเก็บน้ำ โดยจัดให้มีจุดตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินจำนวน 24 จุด และจุดตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินอีก 76 จุด เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำอยู่เสมอ ซึ่งผลการตรวจสอบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันบ่งชี้ว่ากิจการการทำเหมืองของบริษัทไม่ได้ส่งผล
กระทบต่อคุณภาพน้ำโดยรอบแต่อย่างใด

ถังเกรอะ (Thickener) จะทำหน้าที่ดึงน้ำออกจากกากแร่เปียกก่อนปล่อยกากแร่สู่บ่อกักเก็บกากแร่ เพื่อให้สามารถหมุนเวียนนำน้ำกลับไปใช้ภายในเหมือง กระบวนการนี้ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 307,679 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน

การฟื้นฟูพื้นที่

บริษัททำการฟื้นฟูพื้นที่ควบคู่ไปกับการทำเหมือง โดยปรับสภาพพื้นที่และปลูกพืชทดแทนทันทีที่สามารถทำได้ และได้ทดลองปลูกพืชสายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแต่ละพื้นที่ทั่วทั้งโครงการ ในปัจจุบันบริษัทได้ฟื้นฟูพื้นที่ไปแล้วประมาณ 1,700 ไร่