อัครา รีซอร์สเซส จำกัด เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
หน้าหลัก > การดำเนินการของเรา > การทำเหมืองแร่
มาตรฐานการทำเหมืองแร่ทองคำระดับสากล
เหมืองแร่ทองคำชาตรีใช้วิธีการทำเหมืองแบบเหมืองเปิด (Open-Pit Mining) โดยขุดเป็นบ่อเหมืองลึกลงไปจากผิวดินในบริเวณที่มีสายแร่ทองคำปรากฏอยู่ โดยนักธรณีวิทยาจะเริ่มจากการเจาะเก็บตัวอย่างสินแร่เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความสมบูรณ์ของสินแร่ทองคำ เพื่อจำแนกคุณภาพสินแร่ออกเป็นสินแร่ทองคำเกรดสูง สินแร่ทองคำเกรดต่ำ และมูลหิน
ซึ่งใช้คลื่นรังสีอินฟราเรดมาใช้ในการรังวัดพื้นที่ โดยข้อมูลที่ได้นั้นจะมีความละเอียดสูงกว่าการรังวัดโดยใช้โดรนรังวัดแบบถ่ายภาพทั่วไป
ภายหลังจากได้รับข้อมูลภูมิประเทศสำหรับพื้นที่ที่จะทำเหมืองจากการรังวัดโดยละเอียดแล้ว แผนกวางแผนและออกแบบการทำเหมืองของบริษัทจะนำข้อมูลภูมิประเทศดังกล่าว ผนวกรวมกับข้อมูลด้านความสมบูรณ์ของสินแร่ มาใช้ในการวางแผนการผลิตแร่และออกแบบบ่อเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ปริมาณและความสมบูรณ์ของสินแร่ที่จะป้อนเข้าโรงประกอบโลหกรรม ประเภทและปริมาณของเครื่องจักรที่จะใช้ในการทำเหมือง ความคุ้มทุน ความปลอดภัย ข้อกำหนดและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมือง รวมถึงมาตรการการป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดจากการทำเหมือง เป็นต้น
เมื่อได้แผนการทำเหมืองและแบบของบ่อเหมืองแล้ว แผนกควบคุมการทำเหมืองจะใช้แผนและแบบดังกล่าวในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ให้สามารถผลิตสินแร่สำหรับป้อนเข้าโรงประกอบโลหกรรม และบริหารจัดการมูลดินทิ้งให้เป็นไปตามแผนการทำเหมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการติดตามเครื่องจักรแบบ Real-Time ที่มีชื่อว่า MineStar Edge นี้ นอกจากจะช่วยเรื่องการควบคุมการผลิตแร่ และการจัดการมูลดินแล้ว ยังเป็นการยกระดับความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ในกรณีที่สินแร่แทรกตัวอยู่ในหินที่ไม่สามารถขุดตักได้ มวลหินเหล่านี้จะถูกระเบิดให้มีขนาดที่เล็กลง เพื่อให้สามารถขนใส่รถบรรทุกได้ โดยในขั้นตอนการระเบิดนั้น นอกจากจะมีการควบคุมการระเบิดโดยการใช้หน่วงเวลาระเบิดและการควบคุมปริมาณวัตถุระเบิดแล้ว บริษัทยังมีการวัดและบันทึกข้อมูลผลจากการระเบิด ทั้งในด้านแรงสั่นสะเทือนและความดังของเสียงเมื่อมีการระเบิดทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าการระเบิดเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการขนย้ายสินแร่ด้วยรถบรรทุกไปยังลานกองสินแร่ เพื่อรอป้อนเข้าสู่โรงประกอบโลหกรรมต่อไป สำหรับมูลหินนั้นจะถูกขนย้ายและนำไปแยกกองเก็บไว้ในพื้นที่ที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัททำการฟื้นฟูพื้นที่ที่การทำเหมืองสิ้นสุดแล้วทันทีที่สามารถทำได้โดยปลูกต้นไม้และพืชหลากหลายสายพันธุ์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติ
บ่อกักเก็บกากแร่เป็นระบบปิด (Zero Discharge) โดยอัคราไม่มีการปล่อยน้ำ
หรือกากแร่ออกนอกบ่อกักเก็บกากแร่แต่อย่างใด
ด้านการบริหารจัดการกากแร่นั้น บ่อกักเก็บกากแร่ของบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมแห่งรัฐเนวาดา (Nevada Department of Environmental Protection: NDEP) ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยได้ว่าจ้างบริษัท Knight Piésold Consulting จากประเทศออสเตรเลีย ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านการออกแบบและควบคุมงานการบริหารจัดการกากแร่ในระดับโลก ปัจจุบันบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 2 เป็นแหล่งกักเก็บกากแร่ที่ผ่านกระบวนการดึงแร่ทองคำและเงิน และกระบวนการกำจัดไซยาไนด์ที่สามารถลดความเข้มข้นของไซยาไนด์ในกากแร่ให้เหลือน้อยกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับไซยาไนด์ที่อยู่ในกาแฟและเกลือ ก่อนที่จะปล่อยลงสู่บ่อกักเก็บกากแร่
ซึ่งเป็นและมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพน้ำและอากาศ ทั้งในบริเวณพื้นที่โครงการและชุมชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิต
PPM (part per million) คือ หนึ่งส่วนในล้านส่วน (1 ใน 1,000,000) เป็นหน่วยความเข้มข้นที่นิยมใช้สำหรับการวัดค่าความเข้มข้นของสารในปริมาณที่น้อยมาก ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักพบเจอในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในงานอุตสาหกรรม เช่น การวัดค่ามลพิษทางอากาศ หมายถึงส่วนของปริมาณก๊าซพิษในปริมาณของอากาศล้านส่วน
อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
อัคราห่วงใยสุขภาพชุมชน! ร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการตรวจสุขภาพฟรีเพื่อชุมชนและสังคม ที่ให้บริการจากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยตรง
พาคุณไปทำความรู้จักให้ลึกซึ้งกับ “เหมืองแร่ทองคำชาตรี” เหมืองแร่ทองคำไทย ที่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเหมืองแร่ทองคำนี้ถึงได้ชื่อว่าชาตรี ค้นหาคำตอบพร้อมกันที่นี่
This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.
Strictly Necessary Cookie should be enabled at all times so that we can save your preferences for cookie settings.
If you disable this cookie, we will not be able to save your preferences. This means that every time you visit this website you will need to enable or disable cookies again.